คนเราตีความหมายของ “ความยั่งยืน” ไม่เหมือนกัน ซึ่งความคิดเห็นที่แตกต่างกันและยังไม่ได้ข้อสรุปนี้เองทำให้เกิดการอภิปรายมากมายขึ้น อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารมีบทบาทที่ไม่เหมือนใคร ต่างจากอุตสาหกรรมอื่นๆ เนื่องจากต้องรับหน้าที่ทั้งแก้ไขปัญหาจากผลกระทบของการปล่อยมลพิษ และสนับสนุนให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพในสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นไปพร้อมๆ กัน อาหารสัตว์เป็นปัจจัยสำคัญของการเลี้ยงโคนมและโคเนื้อให้เกิดกำไรงอกงามและได้ประสิทธิภาพ ดังนั้น การผลิตอาหารสัตว์จึงถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มาจากระบบอาหาร
เสริมความแข็งแกร่งให้กับห่วงโซ่ของเรา
การระบาดของโรคโควิด-19 ช่วยเน้นย้ำถึงความจำเป็นของการมีระบบอาหารที่ยืดหยุ่น กำลังการผลิตอาหารสัตว์นั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับปริมาณอาหารสำหรับการบริโภคของมนุษย์และความมั่นคงด้านอาหารในภาพรวม จากประสบการณ์การดำเนินงานในกว่า 128 ประเทศ ทำให้ Alltech ค้นพบว่าห่วงโซ่อุปทานของอาหารสัตว์ที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมีความเกี่ยวข้องตั้งแต่กับการผลิตปศุสัตว์ในสเกลขนาดเล็ก ไปจนถึงบรรดาผู้ประกอบการรายใหญ่ของโลก และความท้าทายที่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์กำลังเผชิญมากขึ้นในปัจจุบันคือการแข่งขันกับมนุษย์เพื่อแย่งชิงแหล่งอาหารที่คล้ายกัน
ความท้าทายนี้เองเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพของการใช้สารเสริมในอาหารสัตว์ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะรูเมน รวมถึงผลักดันให้เกิดการสำรวจ คิดค้น และผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ตอบโจทย์สัตว์เคี้ยวเอื้องโดยเฉพาะ ความยั่งยืนในด้านอาหารสัตว์มีมาตั้งแต่ในอดีต และเป็นแนวทางที่เกษตรกรเลือกใช้ในปัจจุบัน ด้วยเครือข่ายห้องปฏิบัติการเฉพาะของ Alltech ที่ชื่อว่า Alltech IFM™ (in vitro fermentation model) ทั้ง 8 แห่งทั่วโลก ทำให้เราสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพของอาหารและขอบเขตการทำงานได้อย่างละเอียดมากขึ้น เพื่อลดการปล่อยมลพิษและเพิ่มผลกำไรของผู้ผลิต
สามารถตรวจพิสูจน์ได้หรือไม่?
ต่อจากนี้ไปแค่คำอ้างว่าระบบการผลิตปศุสัตว์หรืออาหารสัตว์ของคุณมีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำอย่างเดียวยังไม่พอ คุณต้องมีหลักฐานที่ทำซ้ำได้ วัดผลได้ และตรวจสอบได้ เป็นตัวสนับสนุน Alltech E-CO2 ได้พัฒนาแบบจำลอง Feeds EA™ ขึ้นมาเพื่อช่วยผู้ผลิตและผู้สร้างผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ทั่วโลกในการวัดและลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของอาหารสัตว์ที่ผลิต โดย Feeds EA™ จะวัดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตอาหารสัตว์ในโรงงานด้วยการประเมินผลกระทบของสารประกอบหรือส่วนผสมที่ใช้ โดยคำนวณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยจากการผลิต การเพาะปลูก การแปรรูป การใช้พลังงาน และการขนส่งในการผลิตอาหารสัตว์ ทั้งนี้ Feeds EA™ สามารถคำนวณการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากฐานข้อมูลส่วนผสมได้มากกว่า 300 รายการ ซึ่งรวมไปถึงวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ผลิตผลพลอยได้ และสารเสริมอาหาร
สำหรับการลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งโดยโครงการเกษตรกรรมแบบหมุนเวียน เรามั่นใจในความยืดหยุ่นของระบบการผลิตอาหารของเรา จะทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังที่ปรากฏในโครงการต่างๆ เช่น การนำเอาสารเสริมมาใช้ทดแทนผลิตผลพลอยได้สำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องและยังช่วยทำให้สมการทางโภชนาการสมบูรณ์ ทั้งนี้การลดการสูญเสียอาหาร (Food Loss) และอาหารเหลือทิ้ง (Food Waste) ในระบบการผลิตปศุสัตว์ด้วยวิธีการที่ตรวจสอบได้ ทำให้อุตสาหกรรมของเราสามารถสร้างโซลูชันที่ยั่งยืนได้อย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่องเพื่อช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ
การลดปริมาณของเสีย
การเกษตรแม่นยำสูง (Precision Agriculture) และการประยุกต์วิธีดังกล่าวเข้ากับโภชนาการของสัตว์ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริงในการวิเคราะห์ข้อมูลอภิมานของ Alltech ซึ่งว่าด้วยโคนม (Salami et al., 2021) และการวิจัยเรื่องโคเนื้อ (Salami et al., 2020) เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพการนำไนโตรเจนไปในสัตว์เคี้ยวเอื้อง การใช้ Optigen® เสริมสำหรับโคนมมีผลทำให้
• เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนในโคนมได้ 4% เนื่องจากการดักจับไนโตรเจนในกระเพาะรูเมนดีขึ้น
• ลดการขับถ่ายไนโตรเจนผ่านมูลสัตว์ที่ 12-13 กรัม/ตัว/วัน
สิ่งหนึ่งที่ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นคือ การใช้ Optigen® สามารถลดปริมาณการขับไนโตรเจนผ่านมูลสัตว์ต่อปีในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นมของสหรัฐฯ ได้โดยเฉลี่ย 51,509 เมตริกตัน เมื่อพิจารณาตามปริมาณผลผลิตนมทั้งหมดต่อปี
พูดอย่างง่าย คือ แนวทางนี้จะช่วยสร้าง "ไนโตรเจนในปริมาณที่เหมาะสม ในเวลาที่เหมาะสม ในสถานที่ที่เหมาะสม" เพื่อช่วยลดปริมาณของเสียในฟาร์ม ผลจากการวิเคราะห์ดังกล้าวยังแสดงให้เห็นด้วยว่าการใช้ Optigen® ในอาหารโคนมทำให้สามารถลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าได้ถึงประมาณ 54 กรัมต่อนม 1 กิโลกรัม ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นมของเยอรมนีได้คาดการณ์ถึงผลผลิตนมประจำปีไว้ว่า ปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลงจะเทียบเท่ากับ 1.8 ล้านเมตริกตัน หรือคิดเป็น 16% ของเป้าหมายการลดคาร์บอนทั้งหมดสำหรับภาคเกษตรของเยอรมนีภายในปี 2573
การวิเคราะห์เชิงจำลองโดยอิงจากผลลัพธ์ของการวิเคราะห์อภิมานแสดงให้เห็นว่า การให้ Optigen® แก่โคนม 1,000 ตัวจะทำให้
เพิ่มรายได้เหนือต้นทุนอาหารสัตว์มากขึ้น 18,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 560,000 บาท)
ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของฝูงโคได้ คิดเป็นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าถึง 647 เมตริกตัน หรือเทียบเท่ากับการนำรถยนต์ 424 คันออกจากถนน หรือการใช้ไฟฟ้าใน 436 ครัวเรือน
การวิเคราะห์อภิมานของการวิจัยโคเนื้อแสดงให้เห็นว่า การแทนที่โปรตีนจากพืชบางส่วนด้วย Optigen® ทำให้โคเนื้อมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและมีประสิทธิภาพการกินอาหารที่ดีอย่างต่อเนื่อง ผลเชิงบวกที่เกิดขึ้น ได้แก่ การเพิ่มน้ำหนักโดยเฉลี่ยที่ดีขึ้น (8%) และประสิทธิภาพการใช้อาหารดีขึ้น (8%) ซึ่งรวมไปถึงการที่ข้าวโพดหมักช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของ Optigen® ด้วย
การวิเคราะห์เชิงจำลองของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนี้แสดงว่า การให้ Optigen® แก่โค 1,000 ตัวให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 200 กิโลกรัม ทำให้
• ลดระยะเวลาก่อนการเชือดลง 9 วัน
• ลดต้นทุนอาหารสัตว์ลง 18,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 560,000 บาท)
• ช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของหน่วยเนื้อลง คิดเป็นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าถึง 111 ตัน หรือเทียบเท่ากับการนำรถยนต์ 73 คันออกจากถนน หรือการใช้ไฟฟ้าใน 75 ครัวเรือน
ความยั่งยืนไม่จำเป็นต้องแลกมาด้วยต้นทุน
การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากอาหารสัตว์ไม่ได้หมายความว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของระบบอาหารจะมีรายได้ลดลงไปด้วย นับตั้งแต่ฟาร์มโคนมขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ ไปจนถึงโคนมกว่า 300 ล้านตัวที่กระจายอยู่ทั่วฟาร์มขนาดเล็กในอินเดีย Alltech ได้ลงไปสัมผัสประสบการณ์มาแล้วด้วยตัวเองและค้นพบว่าขณะนี้วิธีการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนได้กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการดูแลโภชนาการสัตว์ แต่ทั้งหลายทั้งมวลแล้วการทำฟาร์มให้ได้กำไรก็ยังเป็นประเด็นสำคัญอันดับแรก และที่ทราบกันว่าอาหารสัตว์เป็นต้นทุนสำคัญที่ผันแปรมากที่สุดในการผลิตผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เราจึงต้องมีหน้าที่รับผิดชอบทางธุรกิจในการลดการสูญเสียอาหารและอาหารเหลือทิ้งนั่นเอง
การผลิตอาหารสัตว์เป็นหนึ่งในฟันเฟืองขับเคลื่อนระบบอาหาร ซึ่งทำให้เกิดการเจริญเติบโตของประชากรโลกตลอดช่วง 150 ปีที่ผ่านมา ถึงเวลาแล้วที่เราควรตระหนักถึงการเข้ามามีส่วนร่วม รวมถึงบทบาทของการผลิตอาหารสัตว์ ในการค้นหาและนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์จากสัตว์และสนับสนุนหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน