Skip to main content

Meta-Analysis เผยการวิเคราะห์สารพิษจากเชื้อราที่ส่งผลต่อสุกร

สารพิษจากเชื้อราในอาหารสัตว์เป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อสุขภาพและผลผลิตของสัตว์ สารประกอบเหล่านี้แม้ว่าจะมองไม่เห็น แต่ก็สามารถสร้างความหายนะให้กับระบบอวัยวะต่าง ๆ ลดการทํางานของตับและไต ความสมบูรณ์พันธุ์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน การบริโภคอาหาร และอัตราการเจริญเติบโตของสุกร

 

บทความล่าสุดที่เขียนโดย Dr. Alexandra Weaver, Dr. Daniel Weaver, Nick Adams และ Dr. Alexandros Yiannikouris ใช้เทคนิค meta-analysis กับ meta-regression เพื่อตรวจสอบผลกระทบที่เป็นอันตรายของปัญหาสารพิษจากเชื้อราในสุกรรุ่น การวิเคราะห์อภิมานนี้ (meta-analysis) ได้วิเคราะห์การใช้สารสกัดจากผนังเซลล์ยีสต์ (YCWE) เช่นที่พบใน Mycosorb® ของ Alltech อย่างใกล้ชิด เพื่อลดปัญหาเหล่านี้

 

Meta-analysis และ Meta-regression คืออะไร?

meta-analysis เป็นเทคนิคทางสถิติที่ใช้ในการวิจัย โดยจะรวบรวมและวิเคราะห์ผลลัพธ์จากการศึกษาอิสระหลายเรื่องในหัวข้อเฉพาะ ซึ่งจะให้ภาพรวมที่ครอบคลุมและเชื่อถือได้มากขึ้นของหลักฐาน กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการทบทวนวรรณกรรม (literature reviews) การใช้เกณฑ์การคัดเข้าและการคัดออก (inclusion and exclusion criteria) การสกัดข้อมูล (data extraction) การวิเคราะห์ทางสถิติ และการแปลผล meta-analysis มีประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อการศึกษาแต่ละรายการอาจมีข้อจํากัด หรือเมื่อจําเป็นต้องมีความเข้าใจที่แม่นยำยิ่งขึ้น

Meta-regression เป็นกระบวนการที่มักใช้ใน meta-analysis เพื่อสํารวจและหาค่าของความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของการศึกษา (study characteristics) และผลกระทบที่สังเกตได้จากชุดการศึกษา สิ่งนี้จะสามารถช่วยระบุแหล่งที่มาของความแปรผันและประเมินว่ามีปัจจัยใดที่อาจส่งผลต่อผลการทดลองโดยรวมที่สังเกตได้หรือไม่

 

ผลกระทบของสารพิษจากเชื้อราต่อสุกร

สุกรเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่อ่อนไหวที่สุดเมื่อพูดถึงผลกระทบของสารพิษจากเชื้อราต่อ สุขภาพ การพัฒนา และผลผลิต ชนิดและความเข้มข้นของสารพิษเหล่านี้ในอาหารสัตว์ ประกอบกับอายุและระยะการผลิตของสุกร เป็นตัวกําหนดระดับผลกระทบที่สัตว์จะได้รับ สุกรอายุน้อยและแม่พันธ์/พ่อพันธุ์มักไวต่อสารพิษมากที่สุด

 

สารพิษจากเชื้อราซึ่งส่งผลต่อสุกรที่พบบ่อย ได้แก่:

 

        Aflatoxins: ผลิตโดยเชื้อรา Aspergillus อะฟลาทอกซินสามารถทําลายตับได้ นอกจากนี้ยังอาจยับยั้งระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มความไวต่อโรค และส่งผลต่ออัตราการเติบโตที่ลดลง และประสิทธิภาพการสืบพันธุ์บกพร่อง อะฟลาทอกซิน B1 (AFB1) เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อสุกร

 

        Deoxynivalenol (DON): Deoxynivalenol มีผลต่อระบบทางเดินอาหารเป็นหลัก สุกรที่สัมผัสกับ DON อาจพบว่าการบริโภคอาหารลดลง อาเจียน ท้องร่วง และการดูดซึมสารอาหารบกพร่อง การได้รับสารพิษแบบเรื้อรังอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการเจริญเติบโตไม่ดีนัก

 

        Zearalenone (ZEA): มักถูกมองว่าเป็นสารพิษจากเชื้อราที่สร้างความเสียหายมากที่สุด zearalenone สามารถขัดขวางการทํางานของระบบสืบพันธุ์ในสุกรได้ มันสามารถทําให้เกิดอาการบวมและแดงของช่องคลอด นําไปสู่การติดสัดหลอก (false heats) และท้องหลอก (false pregnancy) เมื่อการตั้งท้องจริงเกิดขึ้น แม่สุกรจะประสบกับภาวะแท้งและมีลูกสุกรตายคลอดมากขึ้น

 

        Ochratoxins: สารพิษเหล่านี้ทำให้การทํางานของไตบกพร่อง การสัมผัสสารพิษนี้แบบเรื้อรัง อาจนําไปสู่ความเสียหายของไตและอัตราการเจริญเติบโตที่ลดลง

 

        Fumonisins (FUM): Fumonisins มีความเชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพหลายประการ รวมถึงความเสียหายของตับและไต และยังปรากฏว่าสารพิษนี้จะเพิ่มความรุนแรงของโรคหลายโรค เช่น โรคระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจของสุกร (PRRS) และยังลดความต้านทานต่อเชื้อก่อโรคต่าง ๆ เช่น อีโคไล

 

        สารพิษ T2-HT2: สารพิษนี้อยู่ในกลุ่ม trichothecene ของสารพิษจากเชื้อราที่ผลิตโดยเชื้อรา Fusarium บางชนิด เป็นที่ทราบกันดีว่า มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อสุขภาพของสัตว์เมื่อมีอยู่ในอาหารสัตว์

 

นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบสารพิษจากเชื้อราอื่นเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง และหลายชนิดอาจเป็นสารปนเปื้อนที่พบในอาหารสัตว์ได้บ่อยครั้ง

 

ผลการศึกษาโดยสังเขป

meta-analysis เผยให้เห็นความสัมพันธ์ที่สําคัญระหว่างการได้รับสารพิษจากเชื้อราและประสิทธิภาพที่ลดลงในสุกรที่กําลังเติบโต แม้ว่าระดับสารพิษจากเชื้อราจะตํ่ากว่าที่ระบุในข้อบังคับของสหภาพยุโรป/สหรัฐอเมริกา แต่อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) ก็ลดลงถึง 79 กรัม และเป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อสารพิษจากเชื้อราอย่างน้อยหนึ่งชนิดมีปริมาณเกินกว่าระดับที่ระบุไว้ในข้อบังคับ จะมีการสูญเสีย ADG เพิ่มขึ้นเป็น 85 กรัม และการกินอาหารเฉลี่ยต่อวัน (ADFI) ลดลงอย่างมีนัยสําคัญ ที่ 166 กรัม

 

การประเมินสรุปผลลัพธ์จากการทดลองที่แตกต่างกัน 30 การทดลอง แสดงให้เห็นว่าการใช้สารสกัดจากผนังเซลล์ยีสต์ (YCWE) ในช่วงที่มีปัญหาสารพิษจากเชื้อรา สามารถเพิ่ม ADG ได้ สุกรที่ได้รับ YCWE ในช่วงที่มีปัญหาสารพิษจากเชื้อราในปริมาณต่ำกว่าเกณฑ์ในข้อบังคับ มี ADG ที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งสูงขึ้นได้ถึง 48 กรัม เมื่อเทียบกับสุกรที่ได้รับสารพิษจากเชื้อราเพียงอย่างเดียว และแม้ในกรณีที่มีระดับสารพิษจากเชื้อราที่สูงขึ้น หากสุกรได้รับ YCWE ทั้งอัตรา ADG และแนวโน้มของ ADFI ก็ยังเพิ่มขึ้นเช่นกัน

 

ผลกระทบต่อผู้ผลิตสุกร

การทําความเข้าใจผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากสารพิษจากเชื้อราต่อประสิทธิภาพของสุกรเป็นสิ่งสําคัญ สําหรับผู้ผลิตสุกร การวิเคราะห์อภิมานนี้ (meta-analysis) แสดงให้เห็นว่าแม้ว่าสารพิษเหล่านี้จะมีปริมาณตํ่ากว่าในข้อบังคับ แต่ก็ส่งผลให้ประสิทธิภาพการเจริญเติบโตลดลง ซึ่งมีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญ การวิเคราะห์นี้ได้เสนอข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปใช้เพื่อป้องกันและแม้กระทั่งปรับปรุงสุขภาพและประสิทธิภาพของสัตว์ได้จริง โดยการใช้โซลูชัน เช่น สารสกัดจากผนังเซลล์ยีสต์

 

สรุป

งานวิจัยนี้ไม่เพียงแต่ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับอันตรายของปัญหาสารพิษจากเชื้อราต่อสุขภาพของสุกรและการผลิตสุกร แต่ยังเน้นให้เห็นศักยภาพของสารสกัดจากผนังเซลล์ยีสต์ในการช่วยจัดการปัญหาสารพิษจากเชื้อรา สารสกัดจากผนังเซลล์ยีสต์กลายเป็นโซลูชันที่หวังผลได้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งหนทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของสุกรและยังช่วยลดผลกระทบจากการได้รับสารพิษจากเชื้อราอีกด้วย

ในขณะที่เรายังคงสํารวจภูมิทัศน์ที่ซับซ้อนของโภชนาการสำหรับสุกร ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้จะกระตุ้นให้เราพิจารณากลยุทธ์ของเราใหม่ เมื่อต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้น

 

________________________________________

 

เกี่ยวกับผู้เขียน:

Dr. Alexandra Weaver สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาสัตวศาสตร์และโภชนาการจาก North Carolina State University ภายใต้การดูแลของ Dr. Sung Woo Kim วิทยานิพนธ์ของเธอมีชื่อว่า “The impact of mycotoxins on growth and health of swine” ซึ่งศึกษาผลกระทบของสารพิษจากเชื้อราต่อประสิทธิภาพการผลิต ภูมิคุ้มกัน ความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน สุขภาพลําไส้ และความสามารถในการสืบพันธุ์ของสุกร เธอได้ตีพิมพ์หลายบทความวิจัยในวารสารหลายฉบับ รวมถึง the Journal of Animal Science ในปี 2013 Weaver ได้เข้าร่วมทีม Alltech® Mycotoxin Management ซึ่งมีหน้าที่ช่วยสนับสนุนให้ผู้ผลิตและนักโภชนาการทุกสายพันธุ์เข้าใจและจัดการกับสารพิษจากเชื้อรา

Loading...