Skip to main content

แนวทางแบบองค์รวมในการดูแลแม่โคในระยะเปลี่ยนผ่าน

ในโลกที่ซับซ้อนของการเลี้ยงโคนม การสร้างความมั่นใจในสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของสัตว์ในฟาร์มของคุณ เป็นสิ่งสําคัญอย่างยิ่งสําหรับการผลิตนน้ำนมอย่างยั่งยืน ช่วงเวลาที่สําคัญช่วงหนึ่งในวงจรชีวิตของโคที่ต้องการความเอาใจใส่อย่างพิถีพิถันคือช่วงระยะเปลี่ยนผ่าน (transition period) โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงสามสัปดาห์ก่อนคลอด การจัดการโคในระยะนี้อย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถลดความเสี่ยงของโรคทางเมแทบอลิกได้อย่างมาก ตลอดจนช่วยส่งเสริมสุขภาพของโคและผลผลิตโดยรวมอีกด้วย

ในบทความนี้เราจะเจาะลึกแง่มุมที่สําคัญของการจัดการโคในระยะเปลี่ยนผ่าน โดยเน้นที่การใช้ DCAD (Dietary Cation-Anion Difference) เพื่อลดความเสี่ยงของโรคทางเมแทบอลิก

 

ทําความเข้าใจเกี่ยวกับระยะเปลี่ยนผ่าน

ช่วงเปลี่ยนผ่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งสามสัปดาห์ก่อนการคลอด เป็นช่วงสําคัญในชีวิตของโคนม ในช่วงเวลานี้ แม่โคจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่สําคัญ เช่น การกินได้ของวัตถุแห้ง (DMI) ที่เปลี่ยนไป เพื่อเตรียมร่างกายสําหรับการให้นมที่กําลังจะมาถึง การจัดการที่เหมาะสมในช่วงเวลานี้เป็นสิ่งสําคัญในการป้องกันปัญหาทางเมแทบอลิกที่พบได้บ่อย เช่น ไข้น้ำนมและรกค้าง

 

การกินได้ของวัตถุแห้ง (Dry matter intake: DMI)

การกินได้ของวัตถุแห้ง (DMI) หมายถึงปริมาณอาหารไม่รวมน้ำที่แม่โคบริโภค มีบทบาทสําคัญสำหรับสุขภาพโดยรวมและผลผลิตของแม่โค ในช่วงฤดูแล้ง การตรวจสอบให้แน่ใจว่าแม่โคมีอัตรา DMI ที่เพียงพอ เป็นสิ่งสําคัญสําหรับทั้งแม่โคและลูกโคที่กําลังพัฒนา DMI ที่เพียงพอจะช่วยให้มั่นใจได้ถึงการเจริญเติบโตของลูกโคในครรภ์และการผลิตนมน้ำเหลือง และเตรียมแม่โคให้พร้อมสําหรับความต้องการทางเมแทบอลิกในช่วงให้นม โดยการให้พลังงานโปรตีนและแร่ธาตุที่เพียงพอแก่แม่โค

อย่างไรก็ตามเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและฮอร์โมน DMI มักจะลดลงในช่วงหลายสัปดาห์ก่อนคลอด ซึ่ง "ภาวะพลังงานขาดความสมดุล (negative energy balance)" นี้ สามารถนําไปสู่ปัญหาทางเมแทบอลิก เช่น คีโตซีสและไข้น้ำนม

 

คะแนนความสมบูรณ์ของร่างกาย (Body condition score)

การรักษาคะแนนความสมบูรณ์ของร่างกายของแม่โคให้เหมาะสมตลอดช่วงการเปลี่ยนผ่านเป็นกุญแจสําคัญ แม่โคที่มีคะแนนความสบูรณ์ของร่างกายมากเกินไป (body condition score >4) มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดปัญหาคลอดยาก รกค้าง และโรคเมแทบอลิก ในทางกลับกันแม่โคที่มีคะแนนความสบูรณ์ของร่างกายต่ำ (body condition score <3) จะมีปัญหาความพร้อมทางร่างกายสำหรับช่วงการให้นม ซึ่งส่งผลต่อการผลิตน้ำนมและสุขภาพของลูกโค

การหาจุดพอดีเป็นสิ่งที่สำคัญ เราควรตั้งเป้า body condition score ที่ 3.5 เพื่อให้แม่โคสามารถนำไขมันในร่างกายบางส่วนมาใช้ในระหว่างการให้นมช่วงแรก ในขณะที่ยังคงมีพลังงานสํารองเพียงพอ

 

บทบาทของแร่ธาตุ DCAD

กลยุทธ์หนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการช่วยสนับสนุนในช่วงเปลี่ยนผ่านของแม่โคและลดอุบัติการณ์ของโรคทางเมแทบอลิกคือ การใช้ผลิตภัณฑ์แร่ธาตุ DCAD เช่น ผลิตภัณฑ์ Calving Care จากออลเทค ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ออกแบบมาเพื่อปรับสมดุลประจุบวกและประจุลบในอาหาร ซึ่งจะสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนสุขภาพของแม่โคในช่วงเวลาที่สำคัญนี้

DCAD (Dietary Cation-Anion Difference) คํานวณโดยการลบปริมาณประจุลบในอาหาร (คลอไรด์และกํามะถัน) ออกจากปริมาณไอออนบวกในอาหาร (โซเดียม โพแทสเซียม และแคลเซียม) แนะนำให้เสริมอาหารที่มีแร่ธาตุที่เป็นประจุลบมากกว่าธาตุที่เป็นประจุบวก (negative DCAD)  ให้แก่แม่โคระยะพักรีดใกล้คลอด เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นกรดซึ่งช่วยในการดึงแคลเซียมและดูดซึมมาใช้ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของไข้น้ำนม

 

ลดการเกิดไข้น้ำนมและโรคทางเมแทบอลิกที่เกี่ยวข้อง

ไข้น้ำนมหรือที่รู้จักกันในทางวิทยาศาสตร์ว่า hypocalcemia เป็นโรคทางเมแทบอลิกที่พบบ่อยในแม่โคระยะให้นม เกิดขึ้นเมื่อระดับแคลเซียมในเลือดลดลงอย่างฉับพลันในช่วงที่เริ่มให้นม ซึ่งนําไปสู่อาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ยืนลําบาก และในกรณีที่รุนแรงอาจเกิดอัมพาตได้

ด้วยกลยุทธ์การเสริมผลิตภัณฑ์แร่ธาตุ DCAD เข้าไปในอาหารของโคนมช่วงเปลี่ยนผ่าน จะป้องกันการเกิดไข้น้ำนมได้ การรักษาสมดุลของอาหารที่เหมาะสมจะช่วยให้โคสามารถดึงเอาแคลเซียมสํารองมาใช้ และจะช่วยลดโอกาสในการเกิดภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำในช่วงระยะเวลาวิกฤตหลังคลอด

 

ประโยชน์ของการจัดการระยะเปลี่ยนผ่านที่เหมาะสม

นอกเหนือจากการลดความเสี่ยงการเกิดไข้น้ำนมแล้ว การจัดการโคในช่วงเปลี่ยนผ่านที่มีประสิทธิภาพยังช่วยลดความเสี่ยงในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในช่วงคลอดลูกของโค เช่น ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะรกค้าง, มดลูกอักเสบ, คีโตซิส และปัญหาทางเมแทบอลิกอื่น ๆ  โคนางหรือโคสาวที่มีการจัดการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่ดี มีแนวโน้มที่จะมีการออกลูกที่ราบรื่น ซึ่งนําไปสู่ลูกโคที่แข็งแรงและการผลิตน้ำนมที่ดีกว่าหลังการคลอด

การศึกษาบ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างการจัดการโคนมในช่วงเปลี่ยนผ่านที่เหมาะสม ซึ่งรวมถึงการเสริม DCAD และอุบัติการณ์ของโรคทางเมแทบอลิกที่ลดลง

 

บทสรุป

ในโลกของการเลี้ยงโคนม สามสัปดาห์ที่ก่อนการคลอดของแม่โคเป็นช่วงเวลาสําคัญที่ต้องการความสนใจและการจัดการเชิงกลยุทธ์ การจัดการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่เหมาะสม รวมถึงการตรวจสอบ DMI การให้คะแนนความสมบูรณ์ของร่างกายแม่โค การจัดการทางโภชนาการ และการเสริมผลิตภัณฑ์แร่ธาตุ DCAD ในอาหารของแม่โค จะสามารถลดความเสี่ยงของโรคเมแทบอลิก เช่น ไข้น้ำนม ได้อย่างมาก

ด้วยวิธีการจัดการดังกล่าวทั้งหมดนี้ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจะสามารถเสริมสร้างสุขภาพโดยรวมของฝูงสัตว์ ปรับปรุงผลลัพธ์หลังการคลอด และสร้างพื้นฐานที่แข็งแรงสำหรับการผลิตนม ในยุคที่สุขภาพของฝูงสัตว์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความสําเร็จของฟาร์ม การดูแลโคในช่วงเปลี่ยนผ่านด้วยความเอาใจใส่และแม่นยํา ไม่ได้เป็นเพียงทางเลือกให้ปฏิบัติ แต่เป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการผลิตโคนมที่เติบโตและยั่งยืน


 

เกี่ยวกับผู้เขียน:

Dr. Ghazanfar Naseer เป็นผู้จัดการด้านเทคนิคสัตว์เคี้ยวเอื้องและสารพิษจากเชื้อราประจําภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ออลเทค ปัจจุบันอาศัยอยู่ในออสเตรเลีย

Dr. Naseer เป็นหนึ่งในสามของผู้ที่ได้รับเลือกให้เข้าร่วมใน the Alltech Dairy Career Development Program ในปี 2015 บทบาทปัจจุบันของเขาในบริษัทได้พาเขาไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก Dr. Naseer มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญระดับนานาชาติมากมายในด้านโภชนาการและการจัดการสัตว์เคี้ยวเอื้อง เขาได้ทํางานร่วมกับผู้ผลิตนมและเนื้อวัวหลายรายทั่วโลกตั้งแต่ฟาร์มขนาดเล็กไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่

Dr. Naseer เกิดในปากีสถาน และสําเร็จการศึกษาในสาขาสัตวแพทยศาสตร์จาก PMAS-Arid Agriculture University ในเมืองราวัลปินดี ประเทศปากีสถาน ด้วยเกียรตินิยมเหรียญทอง และได้รับการรับรองให้เป็น CowSignals® Master Trainer ในประเทศไทยอีกด้วย

Loading...