Skip to main content

Cách kiểm soát nồng độ ammoniac trong chuồng nuôi gia cầm

Submitted by kho on Mon, 10/26/2020 - 04:20

Khí Amoniac hình thành thế nào?

Nitơ là một thành phần có trong khẩu phần ăn của gia cầm, được hấp thụ thông qua protein hoặc các nguồn khác. Một số nitơ này thể được gia cầm sử dụng trong quá trình tạo ra mô hoặc trứng, nhưng phần lớn được bài tiết qua nước tiểu hoặc phân dưới dạng axit uric (khoảng 80%), amoniac (khoảng 10%) và urê (5%). Một khi axit uric và urê được bài tiết, chúng sẽ được chuyển hóa thành amoniac thông qua sự phân hủy của vi sinh vật và enzyme từ vi khuẩn và các enzyme có trong phân. Sau quá trình này, amoniac dễ dàng được phát tán vào không khí, có thể được nhận biết bởi cả người chăn nuôi lẫn đàn gia cầm.

Các yếu tố ảnh hưởng đến cách amoniac được hình thành và thải vào môi trường chuồng nuôi gia cầm Các yếu tố ảnh hưởng đến cách vi khuẩn và enzyme phân hủy nitơ để tạo thành amoniac
  • Loại phân
  • Hoạt động của gia cầm
  • Mật độ nuôi
  • Xử lý chất thải
  • Độ thường xuyên xử lý phân
  • Tỷ lệ thông gió
  • Hàm lượng nitơ
  • Nhiệt độ
  • Độ ẩm
  • pH

Amoniac ảnh hưởng gì đến gia cầm?

Các kết quả của nghiên cứu gia cầm tìm hiểu mức độ amoniac có thể ảnh hưởng đến sản xuất là rất khác nhau. Một số nhóm cho rằng 25 ppm nên là tối đa, trong khi các nhóm khác cho rằng để gà tiếp xúc với 20 ppm trong thời gian dài có thể dẫn đến các vấn đề như suy giảm hệ thống miễn dịch và tổn thương đường hô hấp. Nghiên cứu khác cho thấy rằng, khi gia cầm có thể lựa chọn giữa các môi trường có các mức amoniac khác nhau, chúng sẽ chọn các môi trường có mức amoniac dưới 11 ppm.

Ammniac độc hại đối với động vật. Nồng độ amoniac cao có thể dẫn đến những thay đổi có thể quan sát được, chẳng hạn như khó thở, viêm khí quản, viêm túi khí, viêm màng nhầy của mắt hoặc kết hợp các triệu chứng này với nhau. Nhiều thay đổi khác, ít rõ ràng hơn, có thể diễn ra khi tiếp xúc với mức amoniac thấp hơn. Các nghiên cứu đã phát hiện ra rằng việc tiếp xúc với 20–25 ppm trong suốt quá trình sản xuất có thể làm tăng tính nhạy cảm với các vấn đề nhiễm trùng thứ cấp (virus hoặc vi khuẩn), giảm hiệu quả sử dụng thức ăn và tổn thương mô. Những thay đổi này đã được ghi nhận ở gà thịt tiếp xúc với mức amoniac từ 20–30 ppm trong 16–28 ngày. Các nghiên cứu về gà tây đã phát hiện ra rằng, trong số những cá thể đối mặt với vi khuẩn E. coli, những con tiếp xúc với mức amoniac từ 10–40 ppm có nhiều vi khuẩn trong phổi hơn những con không tiếp xúc với amoniac. Trên gà đẻ, người ta cho rằng tiếp xúc sớm với amoniac có thể có tác dụng lâu dài và có thể ảnh hưởng đến khả năng phát triển. Ngoài ra, tiếp xúc mãn tính với nồng độ amoniac cao có thể làm giảm khả năng sản xuất trứng.

Ở cấp độ vi mô, các nhà nghiên cứu đã phát hiện ra rằng việc tiếp xúc với amoniac có thể gây ra những thay đổi bên trong động vật. Ở gia cầm, việc tiếp xúc với amoniac ở mức độ cao trong 20 ngày làm giảm diện tích bề mặt ruột (có thể ảnh hưởng đến sự hấp thụ chất dinh dưỡng), giảm sức đề kháng của gia cầm đối với stress oxy hóa, làm thay đổi khả năng tiêu thụ chất dinh dưỡng của đường ruột và ảnh hưởng đến các cơ quan miễn dịch. Tiếp xúc với amoniac nồng độ cao dù chỉ trong thời gian ngắn cũng có thể ảnh hưởng đến gia cầm giống như tiếp xúc với amoniac nồng độ trung bình trong thời gian dài hơn.

Tác hại của nồng độ amoniac ở gia cầm và người

5 ppm Mức phát hiện thấp nhất.
6 ppm Kích ứng mắt và đường hô hấp.
11 ppm Giảm năng suất vật nuôi.
25 ppm Chỉ được tiếp xúc tối đa 1 giờ.
35 ppm Chỉ được tiếp xúc tối đa 10 phút.
40 ppm Đau đầu, buồn nôn và chán ăn ở người.
50 ppm Giảm nghiêm trọng hiệu suất và sức khoẻ vật nuôi; tăng khả năng bị viêm phổi.
100 ppm Hắt hơi, tiết nước bọt và kích ứng màng nhầy ở động vật.
300 ppm or more Mối đe dọa đến tính mạng và sức khỏe con người.

Làm thế nào để giảm mức amoniac trong chuồng nuôi gia cầm

Có một số chiến lược để giảm amoniac trong chuồng. Những chiến lược này có thể được sử dụng riêng lẻ hoặc kết hợp và có thể giúp cải thiện hất lượng không khí chuồng trại và phát huy tiềm năng năng suất của gia cầm tốt hơn. Các chiến lược này bao gồm thông gió và quản lý cả chuồng trại và phân gia cầm.

Hệ thống thông gió đóng vai trò như một biện pháp kiểm soát chất lượng không khí trong chuồng, loại bỏ amoniac khỏi chuồng và mang lại không khí sạch. Tuy nhiên, phương pháp này không làm giảm hoặc ức chế sự hình thành amoniac. Tuy nhiên, duy trì hệ thống thông gió thích hợp trong tất cả các mùa sẽ giúp giảm mức amoniac dạng khí trong chuồng và giữ cho chất độn chuồng khô ráo.

Quản lý chuồng trại tốt có thể giúp giảm sự hình thành khí amoniac. Quản lý chuồng trại đúng cách bao gồm đảm bảo rằng chất độn chuồng hoặc phân không bị ướt. Một số cách để giữ cho chất độn chuồng không bị ướt là sửa các vòi uống nước bị rò rỉ và hệ thống phun nước; chọn chất độn chuồng thích hợp; duy trì độ ẩm tương đối trong chuồng phù hợp với tuổi của gia cầm; giảm khả năng ngưng tụ của không khí; và sưởi ấm và thông gió thích hợp cho chuồng.

Các chiến lược quản lý chất độn chuồng và phân có thể được tách thành hai hành động quản lý chính:

  • Quản lý chế độ ăn của gia cầm: Sự hình thành amoniac trong phân và sau đó được giải phóng dưới dạng khí có thể bắt nguồn từ việc tăng mức nitơ trong phân. Nồng độ nitơ trong phân có thể tăng lên nếu gia cầm không phân hủy và hấp thụ protein trong thức ăn. Điều này có thể xảy ra nếu chế độ ăn của gia cầmcó quá nhiều protein hỗn hợp, nếu gia cầm bị bệnh hoặc nếu đường tiêu hóa của chúng không hoạt động bình thường. Những vấn đề này có thể được khắc phục hoặc ngăn ngừa bằng cách cân bằng lượng protein và / hoặc axit amin trong chế độ ăn và bằng cách duy trì sức khỏe đường tiêu hóa của gia cầm.

Một phương pháp khác để giúp ngăn ngừa sự phát thải amoniac từ nitơ trong phân là sử dụng các thành phần như chiết xuất của Yucca schigidera, có vai trò liên kết với amoniac. De-Odorase® có nguồn gốc từ Yucca schigidera và đã được chứng minh là làm giảm urê trong máu và các ion amoni trong máu, giảm sự phân hủy nitơ quá mức trong manh tràng và liên kết amoniac để nó lưu lại trong phân thay vì được thải ra dưới dạng khí. Khi nó được sử dụng trong thức ăn từ khi đặt chim đến khi chim rời chuồng, nó có thể kiểm soát việc thải amoniac vào không khí.

  • Quản lý phân trong chuồng: Các chất axit hóa có thể được sử dụng để giảm độ pH của chất độn chuồng (dưới mức 7,5–8,5 bình thường), điều này sẽ giúp làm chậm và giảm hoạt động của các vi khuẩn phân hủy chất dinh dưỡng trong phân phân để giải phóng amoniac. Một chiến lược khác có thể là sử dụng chất hút mùi và độ ẩm trong chất độn chuồng hoặc phân. Những chất hấp thụ này, thường là đất sét, có tác dụng làm chậm hoạt động của vi sinh vật hoặc làm giảm độ ẩm của chất độn chuồng. De-Odorase® cũng có thể được sử dụng dưới dạng xịt phủ lên phân để giúp kiểm soát amoniac đã tiết ra và giảm mùi hôi của phân. Cũng có thể có các chất ức chế vi sinh vật và enzyme urease có thể được sử dụng để ngăn chặn hoạt động của vi sinh vật và các enzyme trong phân giúp giải phóng amoniac.

Tuy nhiên, tất cả các chiến lược này có thể bị ảnh hưởng tiêu cực bởi chất độn chuồng và sự tích tụ phân, độ ẩm của chất độn chuồng và phân, loại chim, nhiệt độ chuồng, các thách thức về dịch bệnh hoặc sự kết hợp của các yếu tố này.

Kết luận

Sự phát thải amoniac của trại gia cầm từ phân và khí amoniac trong chuồng là những chủ đề phức tạp trong ngành chăn nuôi gia cầm, nhưng với sự kết hợp của hệ thống thông gió tốt, quản lý chuồng trại tốt và chiến lược giảm sự hình thành khí amoniac, vấn đề này có thể được khắc phục thành công bất cứ lúc nào. năm.

Bài viết được xuất bản trên tạp chí Canadian Poultry.

<>Premium Content
Off
<>Featured Image
<>Date
<>Featured Image License
Off
<>Feature
Off
<>Primary Focus Area
<>Article Type

Alltech lanza encuesta global sobre la igualdad de género en la industria alimentaria y agropecuaria

Submitted by ldobler on Fri, 10/23/2020 - 18:22

Realizada en colaboración con AgriBriefing, en esta encuesta pueden participar mujeres y hombres que trabajen en cualquier sector de la cadena de suministro de alimentos.

[LEXINGTON, Kentucky] – Alltech considera que la inclusión favorece la creatividad y fomenta la innovación. La igualdad entre hombres y mujeres no es solo un derecho humano fundamental, sino que es necesario para que avancen la sociedad y la industria agroalimentaria mundial. Por lo que, para recopilar información real sobre la situación profesional de las mujeres en el sector agropecuario, Alltech anuncia su participación en la segunda encuesta anual Mujeres en la Alimentación y la Agricultura. Esta encuesta, que se lanza el 26 de octubre de 2020, tiene como objetivo reunir información que permita al sector agroalimentario construir un entorno laboral más equitativo.

Los resultados de la encuesta Mujeres en la Alimentación y la Agricultura 2019 dio a conocer las barreras específicas a las que se enfrentan las mujeres en el sector agropecuario, y la diferencia de las percepciones que existen entre mujeres y hombres; pero mostró también una perspectiva optimista en general. Y a medida que el 2020 marcó el comienzo de desafíos sin precedentes para la agricultura, nuevas preguntas se han añadido a esta encuesta para medir las desigualdades que se hayan podido agravar a causa del COVID-19. Para globalizar aún más este esfuerzo y aumentar su accesibilidad, la encuesta está disponible en seis idiomas.

Esta iniciativa refleja el compromiso de Alltech con el Pacto Mundial de las Naciones Unidas y con el Objetivo de Desarrollo Sostenible (ODS) de la ONU relacionado con la Igualdad de género. Este ODS reconoce la igualdad entre hombres y mujeres como una base necesaria para cimentar un mundo pacífico, próspero y sostenible.

“Para construir un Planeta de Abundancia™, hoy es más importante que nunca que la industria agroalimentaria alcance su máximo potencial”, señaló el Dr. Mark Lyons, Presidente y CEO de Alltech. “Y el ingenio humano representa el recurso más valioso de nuestro mundo, y una fuerza laboral diversa es esencial para alcanzar un futuro más sostenible. Estamos muy contentos por trabajar una vez más con AgriBriefing y ayudar a mejorar nuestra industria para establecer un entorno más equitativo”.

Se invita a las mujeres y a los hombres de todos los sectores de la cadena de suministro de alimentos, a participar en esta importante discusión mundial sobre la igualdad de género en la industria agropecuaria, solo completando la encuesta aquí.

Los resultados completos se darán a conocer durante la edición de enero de la Experiencia Virtual de Alltech ONE, la cual ofrecerá una perspectiva del sector agroalimentario para el 2021.

 

<>Premium Content
Off
<>Featured Image
<>Date
<>Featured Image License
Off
<>Hubspot
<!--[if lte IE 8]>
<script charset="utf-8" type="text/javascript" src="//js.hsforms.net/forms/v2-legacy.js"></script>
<![endif]-->
<script charset="utf-8" type="text/javascript" src="//js.hsforms.net/forms/v2.js"></script>
<script>
hbspt.forms.create({
portalId: "745395",
formId: "f2b3fa68-1214-4648-bc63-84cf2f90d8a5"
});
</script>
<>Feature
Off
<>Article Type

ดร. คริสตี้ สก็อตต์ – เจาะตลาดไข่ในยุคไวรัสโคโรนา

Submitted by kpoolsap on Fri, 10/23/2020 - 09:46

เมื่อธุรกิจและโรงเรียนเริ่มปิดเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตลาดไข่เหลว (liquid egg) ก็ตกต่ำลง ในขณะที่ความต้องการไข่ไก่แบบฟองในร้านขายของชำถีบตัวสูงขึ้น ดร. คริสตี้ สก็อตต์ สัตวแพทย์จากองค์กร ISE ในรัฐแมรีแลนด์ ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นต่อความเปลี่ยนแปลงด้านยอดขายผลิตภัณฑ์ไข่นานาชนิด และผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในทวีปอเมริกาเหนือ

การสัมภาษณ์ในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการ AgFuture ตอนพิเศษว่าด้วยผลกระทบจากโรคโควิด-19 ที่มีต่อห่วงโซ่อุปทานอาหาร เชิญทุกท่านมาร่วมรับฟังผู้ที่เป็นด่านหน้าในการรับมือกับโรคระบาดระดับโลก ว่ามีวิธีเอาชนะความยากลำบากในครั้งนี้และจัดหาอาหารมาเลี้ยงดูคนทั้งโลกได้อย่างไร

ด้านล่างนี้เป็นบทสัมภาษณ์ระหว่างมิเชล ไมเคิล (Michelle Michael) พิธีกร กับ ดร. คริสตี้ สก็อตต์ ซึ่งได้ผ่านการตรวจแก้แล้ว คลิกด้้านล่างนี้เพื่อรับฟังเสียงการสัมภาษณ์ฉบับเต็ม

https://soundcloud.com/alltech-1/143-cracking-the-egg-market-amid-coronavirus-dr-kristi-scott

 

มิเชล: สวัสดีค่ะ! ดิฉัน มิเชล ไมเคิล นะคะ ในรายการ AgFuture ตอนพิเศษในครั้งนี้ เราจะมาพูดคุยถึงผลกระทบจากโรคโควิด-19 กับผู้ที่ทำงานในห่วงโซ่อุปทานอาหารค่ะ แขกรับเชิญของดิฉันในวันนี้คือ ดร. คริสตี้ สก็อตต์ สัตวแพทย์จากองค์กร ISE ในรัฐแมรีแลนด์ องค์กร ISE เป็นศูนย์ผลิตไข่แบบผสมผสาน คริสตี้ ขอบคุณมากค่ะที่มาร่วมพูดคุยกับเรา

 

คริสตี้:            ขอบคุณที่เชิญมานะคะ

 

มิเชล:              ช่วยพูดถึงบทบาทของคุณในอุตสาหกรรมนี้สักหน่อยได้ไหมคะ

 

คริสตี้:  ได้ค่ะ ดิฉันเป็นสัตวแพทย์ในสังกัดขององค์กร ISE อเมริกา รับหน้าที่ดูแลด้านสุขภาพและสวัสดิภาพให้แก่สัตว์ปีกประมาณ 6 ล้านตัวในรัฐเซาท์แคโรไลนา จอร์เจีย แมรีแลนด์ เดลาแวร์ และนิวเจอร์ซีย์ นอกจากนั้นยังดูแลด้านความปลอดภัยของอาหารให้แก่โรงงานไข่ไก่แบบฟอง 6 แห่งและโรงงานไข่เหลวอีก 1 แห่งด้วยค่ะ

 

มิเชล:              ช่วยอธิบายเพิ่มเติมอีกหน่อยได้ไหมคะว่าหมายความว่าอย่างไรบ้าง อธิบายบทบาทของคุณในเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารหน่อยค่ะ

 

คริสตี้:            โดยพื้นฐานแล้ว ดิฉันจะคอยตรวจสอบว่าโรงงานของเราปฏิบัติตามระเบียบการที่กำหนดไว้เป็นโปรแกรมอาหารคุณภาพปลอดภัยเพื่อลูกค้าของเรา จะได้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของเราที่ปล่อยออกไปนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดี ปลอดภัยสำหรับลูกค้าจริง เราผ่านการตรวจสอบจากหลากหลายฝ่าย ซึ่งไม่ใช่แค่จากลูกค้าของเราเท่านั้น แต่รวมถึงบุคคลภายนอกที่เข้ามาตรวจสอบว่าเราดำเนินการได้อย่างถูกต้องเหมาะสมอย่างที่ควรเป็น ตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารระดับโลกที่กำหนดไว้สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารประเภทใดๆ ที่ผลิตขึ้นมา และฉันก็ดำเนินการตามนี้กับโรงงานแห่งอื่นๆ ของเราทุกแห่งเลยค่ะ

 

มิเชล:              ท่ามกลางภาวะโรคระบาดอย่างนี้ ดิฉันได้แต่จินตนาการว่าบทบาทของคุณเปลี่ยนไปเพราะโควิด-19 แล้วงานในแต่ละวันของคุณเปลี่ยนไปอย่างไรบ้างคะ บริเวณที่คุณอยู่นี่ สถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้างคะ

 

คริสตี้:            ฉันประจำอยู่นอกรัฐเซาท์แคโรไลนาค่ะ ตอนแรกๆ พวกเราจะกำหนดจุดแวะในทุกครั้้งที่เราเดินสายตรวจกัน ปกติแล้วฉันจะเดินทางไปทุกที่เลยค่ะ แต่ตอนนี้เดินทางไปดู ไปช่วย ไปทำในสิ่งที่จำเป็นต้องทำในสถานที่จริงไม่ได้มาสักพักหนึ่งแล้ว ฉันจึงทำงานผ่านทางอีเมล ข้อความ โทรศัพท์ และพยายามช่วยในจุดที่ช่วยได้น่ะคะ ความแตกต่างที่ใหญ่ที่สุดก็คือคนหันมาใช้บริการสัตวแพทย์เพราะมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเชิงวิทยาศาสตร์มากกว่า และถามคำถามมากมายที่ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพก็พยายามหาคำตอบกันอยู่ค่ะ

 

มิเชล:              คำถามที่เขาถามกันในช่วงนี้อย่างเช่นอะไรบ้างคะ

 

คริสตี้:            เช่น เชื้อไวรัสโคโรนานี้ต่างจากไวรัสโคโรนาแบบที่พบในเล้าไก่ซึ่งเราได้ให้วัคซีนแล้วอย่างไร เชื้อไวรัสโคโรนานี้จะแพร่จากคนสู่คนไหม เราจะดูแลให้คนของเราปลอดภัยอย่างไรดี ถ้าโรงงานเรามีผู้ติดเชื้อแล้วจะดำเนินธุรกิจต่อไปได้ไหมอย่างไร และเราจะฆ่าเชื้อในโรงงานได้อย่างไรเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้แบบไม่สะดุด เพราะพวกไก่ก็ไม่ได้มารู้ว่าตอนนี้เรามีผู้ติดเชื้อ ทำให้ขาดแรงงานมาช่วยแพ็กไข่ พวกไก่ก็ยังออกไข่ต่อไปเรื่อยๆ ค่ะ

 

มิเชล:              ถ้าเราพูดถึงโรงงานเหล่านี้ ในขณะที่อุตสาหกรรมไก่ไข่ในสหรัฐฯ ต้องเปลี่ยนจากการขายไข่ตอกเพื่อทำเป็นไข่เหลวมาเป็นไข่ไก่สดแบบฟองเพราะต้องปรับตัวในสภาวะที่ร้านอาหารปิดให้บริการและร้านขายของชำกิจการกำลังเฟื่องฟู ก่อนที่จะให้ ดร. คริสตี้ช่วยอธิบาย ดิฉันขอให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสัตว์ปีกแก่ผู้ฟังของเราสักเล็กน้อยนะคะ เมื่อคุณไปที่ซูเปอร์มาร์เก็ต ไข่ส่วนใหญ่จะเป็นไข่ขนาดใหญ่ แต่ก็มีไข่ขนาดกลางด้วย พวกนี้เรียกว่าเป็นไข่ไก่สดแบบฟอง แล้วคุณก็จะเห็นไข่ที่อยู่ในถาด ไข่ขาว ไข่รวม และอื่นๆ อันนี้มาจากตลาดไข่เหลว แบบนี้ถือว่าเข้าใจถูกต้องทั้งสองประเภทไหมคะ

 

คริสตี้:            โดยพื้นฐานแล้วไข่ที่เอาไว้ทำไข่เหลวก็มาจากไข่ไก่สดแบบฟองนี่ล่ะค่ะ เราจะส่งไข่แบบฟองไปที่โรงงานเฉพาะ ตอกให้แตก แยกเนื้อไข่ออกจากเปลือก แล้วทางโรงงานก็จะมารับไข่เหลวพวกนี้ไปทำมัฟฟินหรือใส่ลงในส่วนผสมวาฟเฟิลน่ะค่ะ ความเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดคือที่ที่นำไข่เหลวไปใช้งานต่างหยุดพักกิจการเพราะคนไม่มาใช้บริการร้านอาหารกัน และคนทั่วไปก็ไม่ได้ซื้อไข่สำเร็จรูปกันมากมายนัก พอทำอาหารทานเองที่บ้านก็จะใช้ไข่ไก่แบบฟองกัน ไม่ได้จำเป็นต้องใช้ไข่เหลวที่ผ่านกระบวนการมาแล้วในผลิตภัณฑ์

 

อีกอย่าง พวกเด็กๆ ก็ไม่ได้ไปโรงเรียน ผู้ใหญ่ก็ไม่ได้ไปทำงานข้างนอก ดังนั้นจึงไม่ได้มีการใช้งานไข่เหลวที่ควรจะถูกใช้ในกิจกรรมเหล่านั้นค่ะ ทั้งตลาดเกิดภาวะชะงักงันโดยสมบูรณ์ และการที่จะหยุดทำไข่เหลวแล้วเปลี่ยนมาขายไข่แบบฟองก็เป็นเรื่องที่ยากมากด้วย เนื่องจากในโรงงานประเภทนี้บางแห่ง ไข่จะถูกส่งตรงจากเล้าไก่เข้าสู่กระบวนการตอกไข่โดยตรงทันที โดยไม่มีการแพ็กลงถาด ไม่มีการวางเรียงลงในแผง ไม่ผ่านขั้นตอนพวกนี้เลย ส่งตรงจากเล้าไก่เข้าโรงงานทำไข่เหลวทันที ตอนนี้ผลิตภัณฑ์ไข่เหลวไม่มีที่ไป นี่เป็นปัญหาหนึ่งค่ะ

 

อีกปัญหาหนึ่งก็คือ ในบางครั้ง โรงงานเหล่านี้ก็ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อแพ็กไข่ลงแผงส่งไปตามร้านอาหารอย่างร้าน Denny's หรือ IHOP หรือร้านอาหารอื่นๆ ในลักษณะนี้ ซึ่งตอนนี้ร้านอาหารพวกนี้หยุดให้บริการอยู่ หรือถ้ายังเปิดให้บริการก็ให้บริการแบบจำกัดมากๆ และด้วยอัตราที่น้อยลงกว่าเดิมอย่างมาก โรงงานผู้ผลิตจึงไม่มีแพ็กเกจบรรจุ ไม่มีฐานลูกค้า รวมถึงไม่สามารถเอาไข่พวกนี้ออกมาจากแผงมาขายแบบ “นี่ ตอนนี้เราจะเอาไข่ไปขายให้ร้านขายของชำโดยตรงแล้วนะ” การเปลี่ยนทิศทางจากที่เคยส่งไข่ให้ร้านอาหารกลายเป็นร้านขายของชำแทน ถือเป็นฝันร้ายของฝ่ายโลจิสติกส์เลยนะคะ เพราะมันไม่ได้เปลี่ยนง่ายเหมือนปัดสวิตช์แล้วก็ (พูดว่า) “เอาตามนี้เลย”

 

มิเชล:              ไข่ตอกเพื่อทำไข่เหลวกับไข่ไก่แบบฟองผ่านกระบวนการเหมือนกันไหมคะ เมื่อกี้คุณพูดว่าคุณมีตลาดรองรับไข่อยู่ แต่ตอนนี้ร้านอาหารปิดกันหมด และไข่สำหรับตอกก็เอาไปขายในร้านค้าตรงๆ ไม่ได้ ช่วยอธิบายถึงสถานการณ์ของโรงงานแปรรูปและสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาหน่อยได้ไหมคะ

 

คริสตี้:            ไข่ตอกทำไข่เหลวกับไข่ไก่แบบฟองผ่านกระบวนการเหมือนกันจนถึงแค่จุดหนึ่งเท่านั้นค่ะ ทุกฟองผ่านการล้างทำความสะอาดเหมือนกัน ผ่านการคัดเกรดเหมือนกัน ถ้าเป็นไข่แบบฟองก็จะคัดเกรดตามปัจจัยภายนอก เช่น เปลือกต้องเรียบลื่นและสะอาดในระดับหนึ่ง ต้องไม่มีรอยแตกและได้ขนาดเหมาะสม นี่เป็นวิธีคัดเกรดสำหรับไข่ฟองที่จะแพ็กใส่ถาดจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคปลายทางค่ะ

 

ส่วนในโรงงานผลิตไข่เหลว หลังจากล้างไข่ให้สะอาดแล้ว ก็จะมีพนักงานที่ทำหน้าที่ตรวจหาไข่เปลือกแตก โดยจะดูว่าไข่รั่วออกมานอกเปลือกหรือไม่ และสังเกตว่าไข่มีปัญหาภายในใดๆ ที่ต้องคัดออกหรือไม่ เพราะเราต้องการแค่เนื้อไข่เท่านั้นน่ะค่ะ ขั้นตอนล้างจะคล้ายๆ กัน แต่จากตรงนี้ไปขั้นตอนจะต่างกันมากเลยค่ะ

 

มิเชล:              ช่วยอธิบายถึงผลกระทบต่อตัวสัตว์ปีกหน่อยได้ไหมคะ อย่างเช่น ทำให้อายุขัยสั้นลงไหม ถ้าคุณพยายามเปลี่ยนจากไข่ตอกเป็นไข่ฟอง แบบนี้จะทำให้จำนวนไข่ที่ได้เปลี่ยนไปไหมคะ

 

คริสตี้:            ไม่ค่ะ ความแตกต่างอย่างเดียวคงจะเป็นเรื่องประเภทของไก่ ในตลาดไข่เหลวบางแห่ง เขาจะใช้ไก่ที่ให้ไข่ขนาดใหญ่มาก เพราะต้องการให้ได้เนื้อไข่มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไข่ถูกส่งตรงจากเล้าเข้าสู่ที่โรงงานตอกไข่ทันที เพราะไม่ต้องมีการจัดการใดๆ กับไข่ ไข่จึงไม่แตกอยู่แล้ว แค่ส่งไข่เข้าสู่โรงงานโดยตรง ล้างให้สะอาด ตอกและกวาดเนื้อไข่ออกมาให้หมด แต่ถ้าเป็นตลาดไข่ฟอง พวกไข่ที่จะส่งไปร้านขายของชำน่ะค่ะ คุณต้องมีเปอร์เซ็นต์ไข่ขนาดใหญ่ประมาณหนึ่ง ไข่ขนาดใหญ่พิเศษเป็นเปอร์เซ็นต์น้อย ถ้าขนาดจัมโบ้ต้องเปอร์เซ็นต์น้อยลงไปอีก และไข่ขนาดกลางเป็นเปอร์เซ็นต์น้อยที่สุด เพราะเรายังมีตลาดนั้นอยู่ค่ะ เราต้องการความหลากหลายในจุดนี้ ส่วนเปลือกก็ต้องสามารถทนต่อการแพ็กลงในถาด ขนย้ายไปที่ร้านขายของชำ และนำไปวางขายบนชั้นวางได้ เพราะคนซื้อก็จะเปิดถาดไข่ดูว่าเปลือกยังสภาพดีอยู่หรือไม่ จากนั้นค่อยซื้อกลับบ้านค่ะ

 

มิเชล:              พูดถึงไข่ที่วางขายในร้านค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านขายของชำทั่วโลก ดิฉันสงสัยว่า... คือเข้าใจว่าเรื่องการซื้อด้วยความตื่นตระหนกก็ซาลงไปแล้ว แต่การที่ร้านขายของชำต้องการไข่มากขึ้นในตอนนี้เป็นเพราะระดับความต้องการสูงขึ้นเนื่องจากเกิดโรคระบาดในครั้งนี้หรือเปล่าคะ

 

คริสตี้:            ใช่ค่ะ ตอนนี้ความต้องการยังสูงกว่าปกติอยู่ ซึ่งขึ้นอยู่กับช่วงที่คุณไปซื้อของในร้านขายของชำด้วยนะคะ เป็นประเด็นที่น่าสนใจทีเดียว ปกติเวลาที่ร้านสั่งให้ไข่มาส่ง บริษัทบางแห่งจะขนส่งด้วยจำนวนเดิมเท่าๆ กับที่เคยส่ง เพราะนั่นเป็นจำนวนที่ได้รับคำสั่งซื้อมา จึงส่งเพียงเท่านั้นค่ะ แต่บริษัทบางแห่งจะกำหนดให้ทำการขนส่งเมื่อมีจำนวนถึงระดับหนึ่ง ซึ่งก็คือเมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามาในระบบอัตโนมัติ ทำให้มีการสั่งซื้อมากขึ้นเรื่อยๆ ตรงนี้เป็นเรื่องของร้านและระบบการสั่งซื้อที่แตกต่างกันออกไปค่ะ ซึ่งจะเป็นประเด็นด้านโลจิสติกส์มากกว่า

 

ดิฉันคิดว่าที่คนทั่วไปยังซื้อไข่กันมากก็เพราะว่าช่วงนี้ทำอาหารทานที่บ้านเองค่ะ เด็กๆ ยังไม่ได้กลับไปเรียนที่โรงเรียน และไข่ก็เอามาใช้ทำอาหารเช้าได้ง่ายๆ หรือทำอาหารที่ทำง่ายๆ ที่บ้านกัน จึงต้องการไข่ในการปรุงอาหาร ตอนนี้ทุกคนได้เห็นแล้วว่าไข่สามารถนำไปทำเป็นเมนูต่างๆ ได้มากมายเพียงใด โดยไม่ได้มานั่งคิดว่า “โอ๊ะ ถ้าทำเมนูนี้ก็ต้องใส่ไข่ด้วยนี่นา” จึงต้องซื้อไข่มากกว่าแต่ก่อนที่ออกไปทานอาหารข้างนอกบ่อยกว่าค่ะ

 

มิเชล:              ตอนนี้มีความต้องการไข่สูง เรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตในทวีปอเมริกาเหนืออย่างไรบ้างคะ

 

คริสตี้:            ประเด็นนี้น่าสนใจเหมือนกันนะคะ ตอนนี้ตลาดไข่เหลวเป็นศูนย์ คือหายไปเลยค่ะ สำหรับตลาดไข่ฟองเริ่มจะลดลงมาบ้างแล้ว เพราะผู้ผลิตไข่เหลวและผู้ผลิตที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบจากการแพ็กไข่ส่งร้านอาหารมาเป็นส่งร้านขายของชำแทน ก็หันมาเพิ่มอุปทานไข่จนล้นตลาด ดังนั้นผลกระทบจึงเริ่มลดลงแล้วค่ะ ส่วนเรื่องราคาก็มีถีบตัวสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ตอนนี้ราคาเริ่มลดลงมาเหมือนเดิมแล้วค่ะเพราะไข่เริ่มล้นตลาดอีกแล้ว

 

มิเชล:              การที่จะเปลี่ยนให้สัตว์ปีกออกไข่สำหรับจำหน่ายในตลาดเพื่อการบริโภคมีความยากง่ายอย่างไร ช่วยอธิบายหน่อยได้ไหมคะ

 

คริสตี้:            เรื่องนี้ไม่ใช่อะไรที่จะเปลี่ยนได้ง่ายๆ แค่เดินไปบอกพวกสัตว์ที่เราเลี้ยงว่า “ช่วยออกไข่ฟองใหญ่ขึ้นให้หน่อยสิ” แต่คุณต้องวางแผนล่วงหน้าอย่างจริงจัง สิ่งที่คุณต้องทำคือให้อาหารและจัดเตรียมสัตว์ปีกให้พร้อม ถ้าอยากได้ไข่ขนาดใหญ่พิเศษและจัมโบ้เพราะตลาดต้องการหรือเพราะเคยทำแบบนั้นตอนผลิตไข่เหลว คุณก็ต้องให้แสงสว่างเพื่อกระตุ้นให้วางไข่ หรือไม่ก็ให้อาหารที่เหมาะกับผลผลิตที่ต้องการ

 

หากต้องการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ขายไข่ได้มากขึ้นในตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งลูกค้าในย่านนั้นมักจะแวะมาที่ร้านขายของชำเพื่อซื้อไข่ขนาดใหญ่เป็นอย่างน้อย คุณก็ต้องคิดล่วงหน้า และคิดดูว่าจะให้โปรตีนประเภทใดแก่สัตว์ที่คุณเลี้ยงอยู่ ให้แสงสว่างเมื่อใด ให้แสงมากน้อยเพียงใด และการที่เพิ่งมาเปลี่ยนแปลงกระบวนการออกไข่อย่างนี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่ายๆ ในพริบตาเดียว การลงมือทำจริงมันยากกว่านั้นมากค่ะ

 

มิเชล:              ฟังดูเป็นเรื่องใหญ่เหมือนกันนะคะนี่ ความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ส่งผลต่อราคาบ้างไหมคะ

 

คริสตี้:            ส่งผลค่ะ แต่อย่างที่บอกคือสั้นมาก ราคาถีบตัวสูงขึ้นเล็กน้อยแค่ไม่นาน และขึ้นไม่มากด้วยค่ะ เราก็ยังดีอยู่มากนะคะ (ในแง่ที่ว่า) ทุกคนฟื้นตัวดีและหาซื้อไข่กันได้ในร้านอย่างที่ควรจะเป็น สุดท้ายแล้ว ระดับราคาก็จะอยู่ในระดับคงที่อย่างรวดเร็ว และมีไข่ให้จับจ่ายกันมากมายในตลาด ไข่ก็จะล้นตลาดอีกครั้ง แล้วราคาก็จะลดลงกลับมาอยู่ในระดับที่ราคาขายต่ำกว่าต้นทุนการผลิตที่เสียไปอีกค่ะ

 

มิเชล:              สำหรับมนุษย์แล้ว คุณค่าทางโภชนาการของไข่ฟองเทียบกับไข่ตอกแตกต่างกันไหมคะ

 

คริสตี้:            ไม่ต่างเลยค่ะ

 

มิเชล:              ดิฉันอยากทราบว่า ในมุมมองของคุณ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมสัตว์ปีกในระยะยาวอันเนื่องมาจากโรคระบาดในครั้งนี้ได้แก่อะไรบ้างคะ

 

คริสตี้:            เรื่องนี้จะทำให้ทุกคนเกิดความตระหนักมากขึ้นว่าอาหารที่ตัวเองทานมาจากไหน อย่างน้อยก็ในระยะสั้น แต่น่าเสียดายที่คนทั่วไปลืมง่ายมากเสียด้วย ในความเห็นของดิฉันน่ะค่ะ พวกเขาจะลืมว่าครูของเราควรได้ค่าแรงหลักล้านดอลลาร์ และเกษตรกรของเราคือหนึ่งในกลุ่มคนที่สำคัญที่สุด เพราะพวกเราทุกคนต้องกิน แม้แต่คนขับรถบรรทุกส่งอาหารส่งสินค้าให้ร้านขายของชำก็มีความสำคัญมากเช่นกัน

 

อีกไม่นานพวกเขาก็คงจะลืม แต่สำหรับอุตสาหกรรมสัตว์ปีกนั้้น ฉันคิดว่าเราจะตระหนักได้ว่าในท้ายที่สุดแล้ว เราคงทำอะไรไม่ได้เลยถ้าไม่มีกลุ่มคนสำคัญที่คอยทำงานอยู่

 

มิเชล:              เราซาบซึ้งในความพยายามของทุกคนค่ะ คุณคริสตี้คะ ท่ามกลางภาวะโรคระบาดเช่นนี้ คุณคิดว่ามีแนวโน้มผู้บริโภคใดที่น่าสนใจหรือเกี่ยวข้องบ้างไหมคะ

 

คริสตี้:            ดิฉันคิดว่าเรื่องที่น่าสนใจคือการที่คนหันมาทำอาหารเมนูง่ายๆ กัน เพราะการทำอาหารอาจทำให้พวกเขารู้สึกถึงชีวิตในภาวะปกติค่ะ

 

มิเชล:              พวกเราทุกคนน่าจะชอบอาหารทานง่ายกันนะคะ คุณคริสตี้คะ คุณอยู่ในแวดวงนี้มาเกือบ 2 ทศวรรษแล้ว เคยเห็นเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมบ้างไหมคะ เพราะทุกคนพูดถึงโรคระบาดนี้ และเราก็ได้ยินคนพูดซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า“ไม่เคยมีเรื่องแบบนี้มาก่อนเลย” ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมเช่นนี้ก็ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเป็นสิ่งที่คุณไม่เคยเห็นหรือสัมผัสมาก่อนเช่นกันหรือเปล่าคะ

 

คริสตี้:            ไม่เคยค่ะ แต่ก่อนดิฉันคิดว่าคงไม่มีเรื่องไหนหนักหนาไปกว่าเหตุการณ์ไข้หวัดนกที่กระทบต่ออุตสาหกรรมเมื่อปี 2558 อีกแล้ว แต่เรื่องนี้ร้ายแรงกว่าอย่างเทียบไม่ติดจริงๆ ค่ะ

 

มิเชล:              เมื่อกี้คุณพูดถึงไข้หวัดนกใช่ไหมคะ ช่วยอธิบายหน่อยได้ไหมคะว่ากรณีไข้หวัดนกในตอนนั้นต่างจากที่อุตสาหกรรมของเราประสบอยู่ในปัจจุับันนี้อย่างไรบ้าง

 

คริสตี้:            ดิฉันคิดว่า (แตกต่างกันที่) ตอนนั้น คนทั่วไปตระหนักกันมากขึ้นว่าไข้หวัดส่งผลต่อเราอย่างไรได้บ้าง จึงเต็มใจที่จะยอมรับว่าเราจำเป็นต้องควบคุมโรคให้ได้ กดไว้ให้ได้มากที่สุด เราต้องควบคุมให้อยู่หมัด ตอนนั้น อุตสาหกรรมทางฝั่งมิดเวสต์เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง และเป็นเหมือนเหตุการณ์ที่เปิดหูเปิดตาให้คนจำนวนมากรู้สึกว่าควรจัดการกับความปลอดภัยทางชีวภาพและคอยตรวจตราสิ่งต่างๆ อย่างไร ควรเฝ้าสังเกตและคาดหวังสิ่งใด แต่ดิฉันคิดว่าช่วงนั้น คนทั่วไปเต็มใจที่จะยอมรับและอยู่กับมันให้ได้มากกว่าเพราะพวกเขาเข้าใจในไข้หวัดและเข้าใจดีว่า “เราต้องควบคุมให้ได้”

 

แต่เมื่อเกิดเหตุเชื้อไวรัสโคโรนาระบาดในครั้งนี้ ดิฉันคิดว่ามันเป็นเรื่องใหม่และมีลักษณะเฉพาะมากๆ จนยากที่ทุกคนจะเข้าใจ มันยากนะคะกว่าที่ทุกคนจะคิดได้ว่าควรทำอย่างไร จะใช้ชีวิตปกติอย่างไรในสถานการณ์เช่นนี้ และเหตุใดเราจึงจำเป็นต้องทำแบบที่ทำอยู่ในปัจจุบัน แม้แต่ตอนนี้ก็ยังมีคนอีกเยอะค่ะที่คิดว่า “โอ๊ย เรื่องจริงซะที่ไหน โกหกทั้งเพ” แต่มันไม่ใช่อย่างนั้นน่ะสิคะ เราก็คงต้องทำความเข้าใจและควบคุมโรคต่อไปเรื่อยๆ ค่ะ

 

มิเชล:              เมื่อกี้มีพูดถึงความปลอดภัยทางชีวภาพนะคะ เรื่องนี้เปลี่ยนไปอีกไหมคะเมื่อเกิดโรคโควิด-19 เพราะตอนที่เกิดโรคไข้หวัดนกก็มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วครั้งหนึ่งอย่างที่คุณว่าไว้

 

คริสตี้:            ดิฉันคิดว่ามันทำให้คนทั่วไปได้ตระหนักว่าคุณสามารถควบคุมได้แค่สิ่งที่เกิดขึ้นในสถานที่หนึ่งๆ เท่านั้น ซึ่งความปลอดภัยทางชีวภาพก็เป็นเช่นนั้นล่ะค่ะ คือคุณควบคุมได้แค่สิ่งที่เกิดขึ้นตรงนั้นเท่านั้นเอง ดิฉันเคยได้ยินหลายคนพูดว่า “พวกนี้นั่งรถมาทำงานด้วยกันอยู่แล้ว แค่มายืนชิดกันในโรงงานแค่นี้ จะไปบอกให้เขาใส่หน้ากากได้ยังไงล่ะ” ดิฉันจึงบอกไปว่า “คุณไปควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นนอกพื้นที่ไม่ได้ก็จริง แต่คุณต้องควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นในที่ของคุณให้ได้” นี่ล่ะค่ะ ความปลอดภัยทางชีวภาพ เพราะความปลอดภัยทางชีวภาพก็คือการควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานที่หนึ่ง ซึ่งหมายรวมถึงมนุษย์ด้วย และเป็นการตรวจสอบให้แน่ใจว่าทั้งสัตว์และคนปลอดภัยด้วยกันทั้งหมด

 

มิเชล:              คุณบอกว่ามีหลายคนเข้ามาถามคุณเรื่องโรคโควิด-19 โดยเฉพาะเลยใช่ไหมคะ คนกลุ่มนี้เขารู้สึกอย่างไรบ้างคะ แสดงอารมณ์แบบไหน หรือคิดอะไรอยู่ในขณะนี้

 

คริสตี้:            คำตอบมีหลากหลายมากเลยค่ะ มันน่าสนใจตรงที่ได้เห็นว่าแต่ละคนมีปฏิกิริยาอย่างไรกับเรื่องนี้ค่ะ ฉันเคยเห็นมาแล้วทุกรูปแบบตั้งแต่ “ตายแล้ว ฉันติดโคโรนาแล้ว ตายแน่ๆ” ทั้งตื่นตระหนกไปจนถึงเศร้าใจ หรือถึงขั้น “นี่มันเรื่องโกหกชัดๆ จัดการให้มันจบๆ ไปสักทีเถอะ”

 

มิเชล:              ดิฉันขอให้พวกเราได้กลับมาใช้ชีวิตวิถีใหม่ทั่วโลกกันในเร็ววันนะคะ ไม่ว่าจะเป็นวิถีแบบไหนก็ตาม คุณคริสตี้ ขอให้แข็งแรงปลอดภัยนะคะ ขอบคุณมากค่ะที่มาร่วมพูดคุยกับเราในวันนี้

 

คริสตี้:            ขอบคุณที่เชิญมานะคะ

 

มิเชล:              ถ้าต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคโควิด-19 เข้าไปที่เว็บไซต์ alltech.com

<>Premium Content
Off
<>Featured Image
<>Date
<>Featured Image License
Off
<>Feature
Off
<>Primary Focus Area
<>Article Type
<>Image Caption

ดร. คริสตี้ สก็อตต์ (Kristi Scott) กล่าวว่าความต้องการไข่ไก่แบบฟองเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากคนทั่วไปอยู่ที่บ้านและทำอาหารกันมากกว่าปกติ

การควบคุมเชื้อซาลโมเนลลาและแคมไพโลแบคเตอร์ในสัตว์ปีก

Submitted by kpoolsap on Fri, 10/23/2020 - 09:29

นักปรุงอาหารทุกคน ไม่ว่าจะมืออาชีพหรือมือสมัครเล่น คงจะบอกคุณว่าเวลาที่ต้องจัดการกับเนื้อดิบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อไก่งวงและไก่บ้าน ความปลอดภัยด้านอาหารคือสิ่งสำคัญ เพราะโอกาสที่จะเกิดอาการเจ็บป่วยและอาหารเป็นพิษนั้นมีอยู่มากมาย ทั้งจากการเก็บรักษาอาหารอย่างไม่เหมาะสมไปจนถึงการปนเปื้อนที่ติดมาจากเขียง

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) กล่าวไว้ว่า ในแต่ละปีมีผู้ได้รับผลกระทบจากโรคทางอาหาร:

•          ถึง 1 ใน 10 คน

•          ทำให้สูญเสียปีสุขภาวะไปกว่า 33 ล้านปี

•          ส่งผลให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 125,000 ราย

เมื่อมีการตรวจสอบเกี่ยวกับโรคเหล่านี้ ทำให้เห็นได้ชัดว่า เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter) และ ซาลโมเนลลา (Salmonella) คือปัญหาใหญ่ ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดโรคต่างๆ กว่า 38% และ 35% ตามลำดับ ไม่ว่าจะมีจุลชีพก่อโรคชนิดอื่นๆ มากหรือน้อยก็ตาม เชื้อโรคทั้งสองชนิดนี้สามารถพบได้ในสัตว์หลากหลายสปีชีส์ แต่ประเด็นนี้ถูกหยิบยกมาอภิปรายในอุตสาหกรรมสัตว์ปีกเป็นประจำอันเนื่องมาจากปฏิกิริยาที่เชื้อเหล่านี้มีต่อสัตว์ปีก ผู้บริโภคมักถูกสอนว่าการปรุงอาหารให้สุกอย่างทั่วถึงจะช่วยหยุดการแพร่เชื้อโรคเหล่านี้ได้ แต่เราสามารถดำเนินการแต่แรกเริ่มเพื่อควบคุมเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์และซาลโมเนลลาในการผลิตและการแปรรูปสัตว์ปีกได้ด้วยเช่นกัน

 

เส้นทางการติดเชื้อ

แม้ว่าเชื้อโรคเหล่านี้สามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพในมนุษย์อย่างหนักหากเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ แต่ปกติแล้วจะไม่แสดงอาการใดๆ ในสัตว์ปีกเลย เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์จะเข้าสู่ช่วงการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเมื่ออยู่ในร่างกายสัตว์ปีกซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่ามนุษย์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สัตว์ปีกเป็นเหมือนแหล่งกักเก็บเชื้อขนาดใหญ่ จากนั้น แบคทีเรียจะถูกถ่ายทอดมาสู่มนุษย์และเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร เชื้อซาลโมเนลลาสามารถติดต่อได้ทั้งตามแนวราบ (จากนกสู่นก) และแนวดิ่ง (จากแม่สู่ลูกนกผ่านทางไข่) โดยเชื้อโรคทั้งสองชนิดจะเกาะอยู่เซลล์เยื่อบุบนผนังทางเดินอาหาร

 

 

ทางเดินอาหาร

สุขภาพของทางเดินอาหารและชุมชนจุลชีพ (microbiota) สามารถส่งผลกระทบต่อการแบ่งตัวของเชื้อโรคอย่างมีนัยสำคัญซึ่่งทำให้เกิดการแพร่เชื้อ  ไมโครไบโอม (microbiome) เป็นเรื่องซับซ้อน แต่เป็นที่รู้จักกันดีจากงานวิจัยว่าด้วยปฏิกิริยาต่อกันระหว่างชุมชนจุลชีพและทางเดินอาหาร โดยชุมชนจุลชีพจะส่งผลกระทบต่อ:

•          โภชนาการและการเติบโต

•          สัณฐานวิทยาในลำไส้

•          ภูมิคุ้มกัน

ภูมิคุ้มกันเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากต่อการพิจารณาสมรรถภาพของสัตว์ การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันมีการใช้พลังงานในระดับที่สูงอย่างเหลือเชื่อ อีกทั้งยังดึงพลังงานไปจากกระบวนการเจริญเติบโตหรือการผลิตไข่อีกด้วย สำหรับในสัตว์ปีกนั้น 70% ของระบบภูมิคุ้มกันจะทำงานผ่านทางเดินอาหาร การตรวจสอบให้แน่ใจว่าสุขภาพทางเดินอาหารและชุมชนจุลชีพทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าภูมิคุ้มกันทำงานอย่างเต็มที่

ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อชุมชนจุลชีพและสถานะภูมิคุ้มกันของสัตว์มีหลากหลาย ได้แก่:

•          อาหารสัตว์และโภชนาการ

•          สภาพแวดล้อม

•          การให้ยา

โดยทั่วไปแล้ว เมื่อสิ่งที่ก่อความเครียดจากปัจจัยทางอชีวนะและชีวภาพเข้ามาสู่ระบบการผลิต อย่างเช่น หากมีการใช้ยาปฏิชีวนะ จะทำให้ความหลากหลายของชุมชนจุลชีพจะลดลง เป็นสาเหตุให้จุลินทรีย์ไม่พึงประสงค์หรือจุลินทรีย์ก่อโรคสามารถเพิ่มจำนวนและเล็ดรอดเข้าสู่ระบบได้ง่ายดายยิ่งขึ้น แบคทีเรียสามารถผลิตสภาพแวดล้อมระดับจุลภาคขึ้นมาได้ด้วยตัวเองเพื่อให้แบคทีเรียในสปีชีส์เดียวกันเพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น และมีการส่งสัญญาณรวมกลุ่มกัน (Quorum sensing) เพื่อสื่อสารซึ่งกันและกันและเริ่มแพร่กระจายเข้าสู่ระบบ ซึ่งมักจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อแบคทีเรียชนิดดี เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ก็จะเอื้อให้เชื้อก่อโรคอย่างซาลโมเนลลาและแคมไพโลแบคเตอร์แพร่กระจาย

ถ้าอย่างนั้นการเปลี่ยนจุลชีพประจำถิ่นในทางเดินอาหารมีความเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหารอย่างไร? ถ้าเราสามารถสร้างชุมชนจุลชีพที่มีสมดุลและมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น จะทำให้สมดุลของสปีชีส์ต่างๆ ในทางเดินอาหารเปลี่ยนแปลงไปและช่วยลดความเสี่ยงในการเพิ่มจำนวนของเชื้อโรค

จากการวิเคราะห์ดีเอ็นเอเมื่อเร็วๆ นี้มีประเด็นสำคัญอยู่ที่การลดจำนวนในกลุ่มยีน แคมไพโลแบคเตอร์และเฮลิโคแบคเตอร์ รวมถึงผลจากการปรับชุมชนจุลชีพของซาลโมเนลลา ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าชุมชนจุลชีพที่ผ่านการปรับปรุงมีจำนวนเชื้อซาลโมเนลลาในลำไส้ใหญ่ส่วนต้นและรังไข่ลดน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ จึงเป็นการลดโอกาสในการติดต่อตามแนวราบและแนวดิ่งได้โดยตรง เรื่องนี้มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมไข่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับสัตว์ปีกที่ถูกนำตัวไปหลังพ้นกรอบเวลาการป้องกันโรคด้วยวัคซีน

 

วิธีเปลี่ยนจุลชีพประจำถิ่นในระบบทางเดินอาหาร

หนทางหนึ่งในการควบคุมเรื่องนี้คือ การฟื้นฟูสภาพให้แก่จุลชีพประจำถิ่นหลังจากเกิดความเครียดหรือการทำ challenge ซึ่งจะเป็นการคืนความหลากหลายของจุลชีพที่สูญเสียไปและส่งเสริมภูมิคุ้มกัน  Alltech จึงขอแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ Actigen® ในการปรับสภาพจุลชีพประจำถิ่นและส่งเสริมความหลากหลายของไมโครไบโอมให้กลับสู่สภาพปกติ เนื่องจากทางเดินอาหารเป็นระบบที่สำคัญ ไม่ใช่แค่เพียงกับระบบภูมิคุ้มกันเท่านั้น แต่รวมถึงสมรรถภาพโดยทั่วไปด้วย เนื่องจากสารอาหารถูกย่อยและดูดซึม ณ จุดนี้ หากกระบวนการนี้มีประสิทธิภาพก็จะส่งผลดีต่อสมรรถภาพได้โดยตรง ด้วยเหตุนี้ Actigen จึงสามารถ:

•          เพิ่มน้ำหนักตัว

•          เพิ่มประสิทธิภาพการใช้อาหาร

•          พัฒนาความเป็นอยู่ที่ดี

งานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ได้ทำการศึกษาผลการใช้ Actigen ต่อชุมชนจุลชีพในลำไส้ใหญ่ส่วนต้นของสัตว์ปีก ซึ่งส่งผลต่อสารเมตาโบไลต์โดยตรง และเพิ่มปริมาณกรดไขมันสายสั้นที่พบในลำไส้ใหญ่ส่วนต้นได้ สารเมตาโบไลต์ที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้สภาพแวดล้อมในลำไส้เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของแบคทีเรียชนิดที่มีประโยชน์มากขึ้น และนั่นหมายถึงปริมาณจุลชีพที่ไม่พึงปรารถนาที่ลดลงด้วย

แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงจะปรากฎให้เห็นได้ ไม่ว่าจะเริ่มกระบวนการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของไมโครไบโอมที่ช่วงอายุใดของสัตว์ก็ตาม แต่การจัดการโภชนาการในช่วงแรกของชีวิตสัตว์ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ไมโครไบโอมเติบโตและสืบทอดต่อไปจนเป็นอาณาณิคมแบคทีเรียที่เจริญถึงขีดสุด แล้วส่งอิทธิพลต่อไปยังจุลชีพประจำถิ่น และท้ายที่สุดก็จะส่งผลไปยังสัตว์ปีกกลุ่มต่อไป

การบริโภคเนื้อและไข่จากสัตว์ปีกกำลังเพิ่มปริมาณมากขึ้น และมีการประมาณการกันว่าน่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมากกว่า 2% การเพิ่มอัตราการบริโภคนี้เป็นเหมือนลมหายใจต่อชีวิตให้แก่เกษตรกรเลยทีเดียว เมื่ออัตราการบริโภคเพิ่มสูงขึ้นแล้ว เราก็ต้องไม่ปล่อยให้โรคทางอาหารหรือความตื่นกลัวทางอาหารเพิ่มขึ้นตาม อย่างเช่นกรณีความตื่นกลัวเชื้อซาลโมเนลลาที่เกิดขึ้นในสหราชอาณาจักรเมื่อช่วงปี ค.ศ. 1980 เหตุการณ์เช่นนี้ หากไม่ได้มีมูลความจริง อาจสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมต่างๆ ได้ การสร้างความมั่นใจในมาตรฐานและความปลอดภัยด้านอาหารจะช่วยให้เราสามารถรักษาความเชื่อมั่นจากลูกค้าและผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าในด้านยอดขายได้ต่อไป เพื่อการนั้น เราจึงต้องคอยเฝ้าสังเกตฝูงสัตว์ของเราและเน้นรักษาระดับความหลากหลายของชุมชนจุลชีพในตัวสัตว์ให้เหมาะสม

<>Premium Content
Off
<>Featured Image
<>Date
<>Featured Image License
Off
<>Feature
Off
<>Primary Focus Area
<>Article Type
<>Image Caption

 เราสามารถดำเนินขั้นตอนต่างๆ เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคทางอาหารได้ตั้งแต่เริ่มแรกการผลิตสัตว์ปีก

วิธีควบคุมระดับแอมโมเนียในเล้าสัตว์ปีก

Submitted by kpoolsap on Fri, 10/23/2020 - 08:38

นอกเหนือจากเรื่องแมลงวันแล้ว หนึ่งในเรื่องร้องเรียนที่พบได้มากที่สุดสำหรับโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีกก็คือปัญหาเรื่องกลิ่นมูลสัตว์ ระดับความเข้มข้นของแอมโมเนียในเล้าสัตว์ปีกนั้น ไม่เพียงแต่มีส่วนให้ทำเกิดกลิ่นดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังอาจเป็นอันตรายต่อทั้งตัวสัตว์ที่อาศัยอยู่ในโรงเรือนและคนงานที่เข้าออกโรงเรือนเป็นประจำอีกด้วย ดังนั้น การทำความเข้าใจวิธีการเกิดก๊าซแอมโมเนีย ผลกระทบที่อาจมีต่อตัวสัตว์ และวิธีควบคุมระดับแอมโมเนีย จะช่วยให้การบริหารจัดการสัตว์ปีกเป็นไปอย่างเหมาะสม

 

ก๊าซแอมโมเนียก่อตัวขึ้นได้อย่างไร

ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบหนึ่งในอาหารสำหรับสัตว์ปีก ซึ่งอาจมาจากโปรตีนหรือแหล่งอื่นๆ และสัตว์ปีกสามารถนำไนโตรเจนบางส่วนจากตรงนี้ไปใช้ประโยชน์ได้โดยแทรกอยู่ในเนื้อเยื่อหรือไข่ แต่ส่วนใหญ่จะถูกขับถ่ายออกมาพร้อมปัสสาวะหรืออุจจาระในรูปของกรดยูริก (ประมาณ 80%) แอมโมเนีย (ประมาณ 10%) และยูเรีย (ประมาณ 5%) เมื่อกรดยูริกและยูเรียถูกขับถ่ายออกมา ก็จะเปลี่ยนเป็นแอมโมเนียอันเนื่องมาจากการย่อยสลายทางจุลินทรีย์และเอนไซม์ในแบคทีเรียและเอนไซม์ที่พบได้ในมูลสัตว์ หลังจากที่เกิดกระบวนการนี้แล้ว แอมโมเนียจะถูกปล่อยออกสู่อากาศในรูป

ปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลให้ก๊าซแอมโมเนียก่อตัวขึ้นและปล่อยออกมาในสภาพแวดล้อมในโรงเรือน

ปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการสลายไนโตรเจนของแบคทีเรียและเอนไซม์ในมูลสัตว์เพื่อก่อตัวเป็นแอมโมเนีย

  • ประเภทวัสดุรองพื้น
  • กิจกรรมของสัตว์ปีก
  • ความหนาแน่นของสัตว์
  • การจัดการมูลสัตว์
  • ความถี่ในการกำจัดมูลสัตว์
  • อัตราถ่ายเทอากาศ
  • ปริมาณไนโตรเจน
  • อุณหภูมิ
  • ความชื้น/ความชื้นในอากาศ
  • ค่า pH

ก๊าซที่ทั้งสัตว์และผู้ที่ทำงานในฟาร์มรับรู้ได้

 

แอมโมเนียส่งผลกระทบต่อสัตว์ปีกอย่างไร

งานวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ปีกที่ศึกษาผลกระทบจากระดับแอมโมเนียต่อผลผลิตในสัตว์ปีกหลายชิ้นให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันออกไป โดยงานวิจัยบางกลุ่มเตือนว่าระดับสูงสุดควรอยู่ที่ไม่เกิน 25 ppm แต่อีกกลุ่มกล่าวว่าการปล่อยให้สัตว์ปีกได้รับก๊าซในระดับ 20 ppm เป็นเวลานานอาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอและระบบทางเดินหายใจเสียหาย เป็นต้น อีกงานวิจัยหนึ่งระบุว่า เมื่อสัตว์ปีกสามารถเลือกอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีระดับแอมโมเนียแตกต่างกันได้ สัตว์จะเลือกสภาพแวดล้อมที่มีระดับแอมโมเนียต่ำกว่า 11 ppm

สารแอมโมเนียเป็นพิษต่อสัตว์ แอมโมเนียในระดับสูงอาจทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัดหลายประการ เช่น อาการหายใจติดขัด, ระคายเคืองหลอดลม, ถุงลมอักเสบ, เยื่อเมือกดวงตาอักเสบ หรือหลายอาการรวมกัน ความเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่ไม่เด่นชัดมากนักอาจเกิดจากการได้รับแอมโมเนียในระดับที่ต่ำกว่า การศึกษาหลายชิ้นพบว่าการได้รับแอมโมเนีย 20-25 ppm ตลอดช่วงการผลิต ส่งผลให้สัตว์มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน (จากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย) ได้มากขึ้น, ประสิทธิภาพการใช้อาหารลดลง และเนื้อเยื่อเกิดความเสียหาย ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นกับไก่เนื้อที่สัมผัสกับแอมโมเนียในระดับ 20-30 ppm เป็นเวลา 16-28 วัน จากการศึกษาไก่งวงพบว่า ในบรรดาสัตว์ปีกที่ได้รับเชื้อ E. coli นั้น กลุ่มที่ได้รับแอมโมเนียในระดับตั้งแต่ 10-40 ppm จะมีแบคทีเรียในปอดมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับแอมโมเนีย สำหรับในกลุ่มไก่ไข่ มีคำเตือนว่าการได้รับแอมโมเนียตั้งแต่ระยะแรกอาจทำให้เกิดผลกระทบอย่างยาวนาน ซึ่งอาจส่งผลต่อผลผลิตของไก่รุ่นเพศเมียเมื่อเป็นแม่ไก่ไข่ในภายหลัง นอกจากนั้น การสัมผัสแอมโมเนียความเข้มข้นสูงอย่างต่อเนื่องอาจทำให้ไก่ไข่มีผลผลิตไข่ตกต่ำอีกด้วย

ส่วนในระดับจุลทรรศน์ นักวิจัยพบว่าการสัมผัสแอมโมเนียอาจกระตุ้นให้สัตว์เกิดความเปลี่ยนแปลงในรูปแบบต่างๆ โดยสำหรับสัตว์ปีกแล้ว การได้รับแอมโมเนียระดับสูงเป็นเวลา 20 วัน ทำให้พื้นผิวลำไส้มีขนาดเล็กลง (ซึ่งอาจส่งผลต่อการดูดซึมสารอาหาร), ลดความสามารถในการต้านทานภาวะเครียดออกซิเดชันในสัตว์, ความสามารถในการย่อยสารอาหารของระบบทางเดินอาหารลดลง และกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ในระบบภูมิคุ้มกัน การสัมผัสแอมโมเนียความเข้มข้นสูง แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก็อาจส่งผลต่อสัตว์ได้มากเทียบเท่ากับการสัมผัสแอมโมเนียความเข้มข้นปานกลางในระยะเวลาที่นานกว่า

อันตรายจากแอมโมเนียเข้มข้นที่กระทบต่อสัตว์ปีกและมนุษย์

5 ppm

ระดับต่ำสุดที่รู้สึกได้

6 ppm

ระคายเคืองดวงตาและระบบทางเดินหายใจ

11 ppm

ผลผลิตสัตว์ตกต่ำลง

25 ppm

ระดับการสัมผัสสูงสุดที่ยอมรับได้ในเวลา 1 ชั่วโมง

35 ppm

ระดับการสัมผัสสูงสุดที่ยอมรับได้ในเวลา 10 นาที

40 ppm

มนุษย์เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ และไม่อยากอาหาร

50 ppm

ผลผลิตและสุขภาพสัตว์ตกต่ำอย่างรุนแรง และเพิ่มความเป็นไปได้ที่จะเป็นโรคปอดอักเสบ

100 ppm

สัตว์เกิดอาการจาม น้ำลายไหล และระคายเคืองเยื่อเมือก

300 ppm หรือมากกว่า

เป็นอันตรายฉับพลันต่อชีวิตและสุขภาพของมนุษย์

 

วิธีลดระดับแอมโมเนียในเล้าสัตว์ปีก กลยุทธ์ในการควบคุมแอมโมเนียในสัตว์ปีกมีหลากหลาย โดยสามารถนำมาใช้ได้ทั้งแบบเดี่ยวหรือผสมผสานกัน ซึ่งจะช่วยให้คุณภาพอากาศในโรงเรือนดีขึ้นและสัตว์ปีกอาจให้ผลผลิตได้ดียิ่งขึ้น กลยุทธ์เหล่านี้รวมถึงการระบายอากาศและการบริหารจัดการทั้งโรงเรือนและวัสดุรองพื้น/มูลสัตว์ปีก

การระบายอากาศถือเป็นการควบคุมคุณภาพอากาศภายในโรงเรือน ด้วยการกำจัดแอมโมเนียออกไปจากโรงเรือนและนำอากาศสะอาดเข้ามาแทนที่ แต่วิธีนี้ไม่ได้เป็นการลดหรือยับยั้งการก่อตัวของแอมโมเนียแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม การรักษาระดับการถ่ายเทอากาศให้เหมาะสมตลอดทุกช่วงฤดู จะช่วยลดระดับแอมโมเนียในอากาศภายในโรงเรือนและทำให้วัสดุรองพื้นแห้งสนิทไม่อับชื้น

การบริหารจัดการโรงเรือนที่ดีจะช่วยลดการก่อตัวของก๊าซแอมโมเนียได้ ซึ่งหนึ่งในวิธีการบริหารจัดการโรงเรือนอย่างเหมาะสมก็คือ การตรวจสอบว่าวัสดุรองพื้นหรือมูลสัตว์ไม่อยู่ในสภาพเปียกชื้น วิธีป้องกันไม่ให้วัสดุรองพื้นเปียกชื้นได้แก่ ซ่อมแซมอุปกรณ์ให้น้ำและระบบพ่นน้ำที่เกิดการรั่วไหล, เลือกวัสดุรองพื้นที่เหมาะสม, รักษาระดับความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนให้พอเหมาะกับอายุของสัตว์ปีก, ลดความแออัด และให้ความร้อนและระบายอากาศในโรงเรือนอย่างเพียงพอ

กลยุทธ์ในการจัดการวัสดุรองพื้นและมูลสัตว์ แบ่งออกเป็นการบริหารจัดการหลักๆ สองข้อดังนี้:

  • การจัดการอาหารสัตว์ปีก: การก่อตัวของแอมโมเนียในมูลสัตว์และการปล่อยก๊าซสามารถสืบย้อนกลับไปถึงระดับไนโตรเจนที่เพิ่มสูงขึ้นในมูลสัตว์ ระดับไนโตรเจนจากมูลสัตว์จะเพิ่มขึ้นหากสัตว์ปีกไม่สามารถย่อยและดูดซึมโปรตีนจากอาหารสัตว์ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่ออาหารที่ให้แก่สัตว์ปีกมีส่วนผสมของโปรตีนเชิงซ้อนมากเกินควร, สัตว์มีอาการเจ็บป่วย หรือระบบทางเดินอาหารทำงานผิดปกติ ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขหรือป้องกันได้ด้วยการรักษาระดับโปรตีนและ/หรือกรดอะมิโนในอาหารสัตว์ให้สมดุล และดูแลระบบทางเดินอาหารของสัตว์ปีกให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ

อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันการปล่อยก๊าซแอมโมเนียจากไนโตรเจนในมูลสัตว์คือ การเพิ่มส่วนผสมต่างๆ เช่น สารสกัดจาก Yucca schidigera ซึ่งสามารถดักจับแอมโมเนียได้ De-Odorase® ผลิตจาก Yucca schigidera จึงสามารถลดยูเรียและแอมโมเนียมไอออนในเลือด ลดการย่อยสลายไนโตรเจนมากเกินควรในลำไส้ใหญ่ส่วนต้น และดักจับแอมโมเนียให้คงอยู่ในมูลสัตว์ต่อไปโดยไม่ถูกปล่อยออกมาในรูปของก๊าซ เมื่อนำผลิตภัณฑ์นี้มาใช้ร่วมกับอาหารสัตว์ตั้งแต่สัตว์ปีกถูกนำเข้ามาในโรงเรือนจนถึงเวลาที่ออกจากโรงเรือน จะช่วยควบคุมการปล่อยแอมโมเนียออกสู่อากาศได้

  • การจัดการมูลสัตว์ภายในโรงเรือน: สารเพิ่มความเป็นกรดสามารถลดค่า pH ของวัสดุรองพื้น (ให้ต่ำกว่าค่าปกติที่ 7.5-8.5) ซึ่งจะช่วยหน่วงและลดกิจกรรมของจุลินทรีย์ย่อยสลายสารอาหารในมูลสัตว์เพื่อปล่อยแอมโมเนียได้ อีกกลยุทธ์หนึ่งคือการใช้สารดูดซับกลิ่นและความชื้นในวัสดุรองพื้นหรือมูลสัตว์ โดยสารเหล่านี้ซึ่งมักจะทำจากเคลย์เป็นหลัก จะทำหน้าที่ในการหน่วงให้กิจกรรมของจุลินทรีย์เกิดช้าลงหรือลดปริมาณความชื้นในวัสดุรองพื้น De-Odorase® สามารถนำมาใช้ในการฉีดพ่นคลุมหรือราดมูลสัตว์เพื่อควบคุมแอมโมเนียที่ถูกปล่อยออกมาและลดกลิ่นแอมโมเนีย หรือใช้เป็นตัวยับยั้งเอนไซม์จุลินทรีย์และยูรีเอสเพื่อป้องกันการทำงานของจุลินทรีย์และเอนไซม์ในมูลสัตว์ที่ทำให้เกิดการปล่อยแอมโมเนียก็ได้เช่นกัน

อย่างไรก็ดี กลยุทธ์ทั้งหมดนี้อาจมีประสิทธิภาพลดลงเนื่องจากการสะสมวัสดุรองพื้นและมูลสัตว์, ความชื้นในวัสดุรองพื้นและมูลสัตว์, ชนิดของสัตว์ปีก, อุณหภูมิในโรงเรือน, โรคภัยต่างๆ หรือปัจจัยเหล่านี้รวมกัน  

 

สรุป

การปล่อยสารแอมโมเนียจากมูลสัตว์ในฟาร์มสัตว์ปีกและก๊าซแอมโมเนียในโรงเรือนเป็นประเด็นที่ซับซ้อนในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก แต่หากมีการถ่ายเทอากาศที่ดี การบริหารจัดการโรงเรือนที่ดี และใช้กลยุทธ์เพื่อลดการก่อตัวของก๊าซแอมโมเนียรวมกัน ก็จะสามารถเอาชนะปัญหานี้ได้สำเร็จ ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเวลาใดของปีก็ตาม

 

เนื้อหาในบล็อกนี้เป็นการสรุปบทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร Canadian Poultry

 

<>Premium Content
Off
<>Featured Image
<>Date
<>Featured Image License
Off
<>Feature
Off
<>Primary Focus Area
<>Article Type
<>Image Caption

กลยุทธ์การควบคุมแอมโมเนียในสัตว์ปีกมีหลากหลายวิธี โดยสามารถนำมาใช้ได้ทั้งแบบเดี่ยว หรือผสมผสานกัน ซึ่งจะช่วยให้คุณภาพอากาศในโรงเรือนดีขึ้นและสัตว์ปีกอาจให้ผลผลิตได้ดียิ่งขึ้น

Proactive Crop Defense

Submitted by vrobin on Wed, 10/21/2020 - 14:30

Through the incorporation of new technologies, efficiency in crop production has soared. However, so has demand for more sustainable management practices. Today, regulations are tightening, and there is more scrutiny than ever before from consumers regarding conventional herbicides, fungicides and insecticides.

An alternative to synthetic chemicals, biofungicides are naturally occurring compounds or organisms that suppress diseases in crops. Because they are derived from natural sources, they are an important aspect of organic farming and many next-generation integrated pest-management plans. Biofungicides can typically be plant or microbial extracts or beneficial microbes. They are still typically used as a curative tool and reach their full value when combined with a more proactive approach.

A new and growing tool incorporated into the strategy of integrated pest management is based on the concept of induced resistance. Plants are not naturally proactive; in fact, they are reactive organisms, meaning they respond to their environments. When a plant is under attack from a disease, various chemical defense responses are initiated in the plant, somewhat similarly to how our own immune systems respond to disease. Biologics, such as nutritionals and activators, activate these same natural plant defenses in a state known as induced resistance. When used proactively before the first symptoms, the plant will be primed and will react much more quickly, reducing the intensity of disease and avoiding the waste of energy.

Alltech Crop Science continues to research how and when to use biologicals — including natural activators, foliar micronutrients, natural inoculants and/or biofungicides — to help producers champion environmental stewardship while maintaining profitability.  

What this means for you and your farm:

  • Increase plants’ natural resistance
  • Decrease the need for conventional pesticides
  • Preventative approach
  • Help build stronger plant protection program with fewer chemicals
  • Save plants’ energy for more yield

 

<>Alt Page Title
Proactive Defense
<>Featured Image
crop defense icon
<>Panelizer
Using default called "en_header_image_templat"
<>Sidebar Menu Selection
<>Contact Hubspot Embed
<>Contact Header

Questions about proactive defense? Fill out the form below.

<>Header Background
crop defense header

Enhance Plant Processes

Submitted by vrobin on Wed, 10/21/2020 - 14:27

Even before germination, a seed contains all of the genes that determine a plant’s full genetic potential. However, just because a seed has the capacity to perform does not mean it will. Stresses, nutrient limitations and hormone imbalances can permanently reduce gene expression throughout the growing cycle, limiting crop and yield productivity.

Alltech Crop Science applies nutrigenomic research to help plants achieve their full genetic potential.  

Nutrigenomics is the study of how nutrition affects the process of gene expression. By no means are we altering genes; we’re simply looking to see how a plant naturally responds to various nutrients, compounds and stimuli. Seeing how plants react to these situations on a genetic level allows us to optimize plant function and health. Ultimately, we’re helping boost the performance of crops by understanding their natural responses to their environment.

We do this by looking at gene chips, which allows researchers to compare the effects that various nutrient packages have on plant gene expression.

Knowing which genes are being up-regulated or down-regulated offers a window into understanding changes in growth and performance. Analysis of this information provides important clues about how to further optimize plant function and health.

For example, recently, our nutrigenomics research team measured an up-regulation of genes involved in auxin production in maize plants treated by Alltech Crop Science solutions. Auxin is a plant hormone involved in cell multiplication and elongation.

What this means for you and your farm:

  • Optimized growth
  • Increased marketable yield
  • Resistance to plant stress
  • Better use of nutrients
<>Alt Page Title
Enhance Plant Processes
<>Featured Image
plant processes icon
<>Panelizer
Using default called "en_header_image_templat"
<>Sidebar Menu Selection
<>Contact Hubspot Embed
<>Contact Header

Questions about enhancing plant processes?

Fill out the form below.

<>Header Background
plant processes header

Yeast-Based Amino Acids for Improved Crop Production

Submitted by vrobin on Wed, 10/21/2020 - 14:22

The yeast cell has many valuable uses when it comes to crop production. Yeast extracts — the interior components of the cell — are rich in a wide variety of amino acids, which can complex with trace minerals for improved nutrient bioavailability.

Unlike other sources, which contain only a handful of amino acids, yeast extracted from Alltech’s proprietary strain of yeast, Saccharomyces cerevisiae SP.1026, delivers a balanced supply of at least 18 amino acids in a form recognizable by the plant.

Amino acids act as a natural chelate or complex, binding to the minerals or other molecules they are mixed with, thus allowing for increased absorption within the plant. The plants recognize the amino acids and absorb them, bringing the minerals through the cuticle as “passengers”. Once in the plant, the nutrients are transported and released, while the amino acids are used efficiently for the plant’s own growth.

Synthetic chelating agents, such as EDTA, can be too strong. Described as having “separation anxiety,” they must always hold onto something. When releasing iron, for example, they may bind to a different nutrient, such as manganese, making it unavailable to the plant and causing a new deficiency. What’s worse, because they are of no other use to the plant, these synthetic agents are discarded and accumulate in the soil over time. In contrast, amino acids may be utilized by the plant once they have delivered their mineral payload.

Bioavailability is the degree and rate at which a substance is absorbed into a living system or is made available at the site of physiological activity. Foliar-applied minerals complexed with amino acids are neutral in charge, allowing them to bypass the leaf surface. Upon reaching the cell membrane, they are absorbed rapidly, as amino acids are sources of water-soluble organic nitrogen. These molecules remain intact as they travel through the leaf barrier with minimal interference. From there, they may be absorbed and used by the leaf cells or travel on to the phloem (the vascular system used by plants for transportation), typically to new leaves, flowers, fruit and/or other fast-growing parts of the plant.

In foliar-applied plant nutrition, amino acid complexes such as those provided by Alltech Crop Science represent state-of-the-art technology for the natural delivery of micronutrients with optimal bioavailability, tolerability and safety.

What this means for you and your farm:

  • Perfect nutrition for precision agriculture
  • Ability to quickly overcome deficiencies
  • Reduction of herbicide stress
  • Maintain crop yield potential
  • Protect soil and environment
<>Alt Page Title
Yeast-Based Amino Acids
<>Featured Image
amino acids icon
<>Panelizer
Using default called "en_header_image_templat"
<>Sidebar Menu Selection
<>Contact Hubspot Embed
<>Contact Header

Questions about yeast-based amino acids?

Fill out the form below.

<>Header Background
yeast-based amino acids header

Microbial Metabolites

Submitted by vrobin on Wed, 10/21/2020 - 14:15

Healthy soil, defined as soil that has a high organic matter content, good biodiversity and high nutrient availability, provides an excellent basis for optimized crop health and production. Maintaining healthy soil can decrease the number of inputs that a grower needs to use, since many of the crop’s nutritional requirements are already supplied through the soil. This increased nutrient availability in the soil can also help plants to develop stronger roots and become naturally more resistant to environmental stressors. However, after seasons of use, soils can become depleted of these key elements, leading to losses in quality and yield.

To keep soil healthy and thriving, Alltech Crop Science has turned to the powerful world of our invisible allies — microbes.

Alltech Crop Science selects and grows specific bacterial strains that are naturally found in healthy soils. In stressful situations, these bugs produce metabolites to protect themselves and modify their environment. Alltech Crop Science extracts these metabolites, which play a key role in the balance of the microbial ecosystem and the interaction between soil microbes and roots.

By utilizing Alltech Crop Science products enriched with microbial metabolites, the soil is receiving not only necessary nutrition but molecules that are able to stimulate their environment, creating a less competitive environment for beneficial microbes to flourish. Healthy microbial populations help create a strong symbiotic relationship between the soil, roots and plant, leading to improved crop health and productivity.

What this means for you and your farm:

  • Enhanced root growth and health
  • Increased availability of nutrients
  • Better resistance to environmental stresses
  • Better crop yields
<>Alt Page Title
Microbial Metabolites
<>Featured Image
metabolites icon
<>Panelizer
Using default called "en_header_image_templat"
<>Sidebar Menu Selection
<>Contact Hubspot Embed
<>Contact Header

Questions about microbial metabolites? Fill out the form below.

<>Header Background
Microbial Metabolites header image

Почти забытые микроэлементы...

Submitted by Ssemenova on Wed, 10/21/2020 - 09:48

Загрязненность неорганических солей микроэлементов тяжелыми металлами, загрязнения почвы, антагонизм и нарушение процессов метаболизма, негативная роль в отношении активности витаминов, антиоксидантов, экзо- и эндогенных ферментов – вот некоторые реперные точки дискуссии о применении микроэлементов в кормлении сельскохозяйственной птицы и свиней новых кроссов и пород.

Метаболизм органических микроэлементов у сельскохозяйственных животных имеет свои особенности, для них применяются отдельные классификации, методы контроля.

Неорганическим микроэлементам в кормлении животных предначертана гибель. Уровни микроэлементов в органических протеинатах – Биоплексах – в разы меньше, чем предусмотрено для неорганики американскими и бразильскими рекомендациями по составлению рационов. Хелаты серии Биоплекс® компании Alltech обеспечивают заявленную продуктивность и имеют целый ряд положительных эффектов. Например, улучшаются минеральный состав костей, некоторые показатели качества мяса птицы и свинины, такие как pH и влагоудерживающая способность.

Максимальные уровни микроэлементов, установленные в рекомендациях и утвержденные регуляторными органами стран, требуют уточнения в сторону уменьшения.

Полный текст статьи

Требуется оптимизировать рацион? Напишите нам на arussia@alltech.com или заполните форму ниже.

<>Premium Content
Off
<>Featured Image
<>Date
<>Featured Image License
Off
<>Feature
Off
<>Article Type

Viligen™

Submitted by mnagypal on Wed, 10/21/2020 - 08:57

Viligen egy szabadalmaztatott Alltech termék, amely zsírsav, prebiotikumok és hatékonyan felszívódó ásványi anyagok keveréke.

A termék jellemzői és előnyei:

  • Stimulálja az illózsírsavak koncentrációját a vékonybélben. Az illózsírsavak megakadályozzák a patogének elszaporodását a bélben. (Salmonella, E. coli, Klebsiella and Shigella)
  • Támogatja a bélrendszer fejlődését
  • Segíti a bélbolyhok növekedését és a bél sejt differenciálódást együttesen
  • Javítja a természetes védekezőképességet

Működése:

  • A Viligen egy szabadalommal védett takarmánykiegészítő keverék, amely a patogén baktériumok részére kedvezőtlen körülményeket teremt a bélben, miközben a hasznos baktériumok szaporodását segíti. Ennek eredményeként megnövekszik a bélben a felszívódás, ami a termék alábbi összetevőinek köszönhető:
    • illózsírsavak
    • prebiotikumok
    • hatékonyan felszívódó ásványi anyagok
  • Baromfinál a kutatások azt mutatják, hogy Viligen hatására a patogének számára kedvezőtlen közeg alakul ki, mely segíti az optimális bélegészség kialakulását.
  • A Viligen a malacoknál segíti az egészséges bél mikroba társulás kialakulását és a bél membrán fejlődését. Különösen nagy hatása van a vékonybél kifejlődésében, az immunfunkciókban és a vékonybél gyulladásos folyamatainak leküzdésében, amelyek kulcsfontosságúak a sertések emésztőrendszerének fejlődéséhez.
<>Focus Area
<>Title Header Image
Viligen
<>Focus Areas (taxonomy)
<>Feature
Off
<>Accordion
<>Items
Loading...