วิธีควบคุมระดับแอมโมเนียในเล้าสัตว์ปีก

กลยุทธ์การควบคุมแอมโมเนียในสัตว์ปีกมีหลากหลายวิธี โดยสามารถนำมาใช้ได้ทั้งแบบเดี่ยว หรือผสมผสานกัน ซึ่งจะช่วยให้คุณภาพอากาศในโรงเรือนดีขึ้นและสัตว์ปีกอาจให้ผลผลิตได้ดียิ่งขึ้น
นอกเหนือจากเรื่องแมลงวันแล้ว หนึ่งในเรื่องร้องเรียนที่พบได้มากที่สุดสำหรับโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีกก็คือปัญหาเรื่องกลิ่นมูลสัตว์ ระดับความเข้มข้นของแอมโมเนียในเล้าสัตว์ปีกนั้น ไม่เพียงแต่มีส่วนให้ทำเกิดกลิ่นดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังอาจเป็นอันตรายต่อทั้งตัวสัตว์ที่อาศัยอยู่ในโรงเรือนและคนงานที่เข้าออกโรงเรือนเป็นประจำอีกด้วย ดังนั้น การทำความเข้าใจวิธีการเกิดก๊าซแอมโมเนีย ผลกระทบที่อาจมีต่อตัวสัตว์ และวิธีควบคุมระดับแอมโมเนีย จะช่วยให้การบริหารจัดการสัตว์ปีกเป็นไปอย่างเหมาะสม
ก๊าซแอมโมเนียก่อตัวขึ้นได้อย่างไร
ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบหนึ่งในอาหารสำหรับสัตว์ปีก ซึ่งอาจมาจากโปรตีนหรือแหล่งอื่นๆ และสัตว์ปีกสามารถนำไนโตรเจนบางส่วนจากตรงนี้ไปใช้ประโยชน์ได้โดยแทรกอยู่ในเนื้อเยื่อหรือไข่ แต่ส่วนใหญ่จะถูกขับถ่ายออกมาพร้อมปัสสาวะหรืออุจจาระในรูปของกรดยูริก (ประมาณ 80%) แอมโมเนีย (ประมาณ 10%) และยูเรีย (ประมาณ 5%) เมื่อกรดยูริกและยูเรียถูกขับถ่ายออกมา ก็จะเปลี่ยนเป็นแอมโมเนียอันเนื่องมาจากการย่อยสลายทางจุลินทรีย์และเอนไซม์ในแบคทีเรียและเอนไซม์ที่พบได้ในมูลสัตว์ หลังจากที่เกิดกระบวนการนี้แล้ว แอมโมเนียจะถูกปล่อยออกสู่อากาศในรูป
ปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลให้ก๊าซแอมโมเนียก่อตัวขึ้นและปล่อยออกมาในสภาพแวดล้อมในโรงเรือน |
ปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการสลายไนโตรเจนของแบคทีเรียและเอนไซม์ในมูลสัตว์เพื่อก่อตัวเป็นแอมโมเนีย |
|
|
ก๊าซที่ทั้งสัตว์และผู้ที่ทำงานในฟาร์มรับรู้ได้
แอมโมเนียส่งผลกระทบต่อสัตว์ปีกอย่างไร
งานวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ปีกที่ศึกษาผลกระทบจากระดับแอมโมเนียต่อผลผลิตในสัตว์ปีกหลายชิ้นให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันออกไป โดยงานวิจัยบางกลุ่มเตือนว่าระดับสูงสุดควรอยู่ที่ไม่เกิน 25 ppm แต่อีกกลุ่มกล่าวว่าการปล่อยให้สัตว์ปีกได้รับก๊าซในระดับ 20 ppm เป็นเวลานานอาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอและระบบทางเดินหายใจเสียหาย เป็นต้น อีกงานวิจัยหนึ่งระบุว่า เมื่อสัตว์ปีกสามารถเลือกอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีระดับแอมโมเนียแตกต่างกันได้ สัตว์จะเลือกสภาพแวดล้อมที่มีระดับแอมโมเนียต่ำกว่า 11 ppm
สารแอมโมเนียเป็นพิษต่อสัตว์ แอมโมเนียในระดับสูงอาจทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัดหลายประการ เช่น อาการหายใจติดขัด, ระคายเคืองหลอดลม, ถุงลมอักเสบ, เยื่อเมือกดวงตาอักเสบ หรือหลายอาการรวมกัน ความเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่ไม่เด่นชัดมากนักอาจเกิดจากการได้รับแอมโมเนียในระดับที่ต่ำกว่า การศึกษาหลายชิ้นพบว่าการได้รับแอมโมเนีย 20-25 ppm ตลอดช่วงการผลิต ส่งผลให้สัตว์มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน (จากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย) ได้มากขึ้น, ประสิทธิภาพการใช้อาหารลดลง และเนื้อเยื่อเกิดความเสียหาย ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นกับไก่เนื้อที่สัมผัสกับแอมโมเนียในระดับ 20-30 ppm เป็นเวลา 16-28 วัน จากการศึกษาไก่งวงพบว่า ในบรรดาสัตว์ปีกที่ได้รับเชื้อ E. coli นั้น กลุ่มที่ได้รับแอมโมเนียในระดับตั้งแต่ 10-40 ppm จะมีแบคทีเรียในปอดมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับแอมโมเนีย สำหรับในกลุ่มไก่ไข่ มีคำเตือนว่าการได้รับแอมโมเนียตั้งแต่ระยะแรกอาจทำให้เกิดผลกระทบอย่างยาวนาน ซึ่งอาจส่งผลต่อผลผลิตของไก่รุ่นเพศเมียเมื่อเป็นแม่ไก่ไข่ในภายหลัง นอกจากนั้น การสัมผัสแอมโมเนียความเข้มข้นสูงอย่างต่อเนื่องอาจทำให้ไก่ไข่มีผลผลิตไข่ตกต่ำอีกด้วย
ส่วนในระดับจุลทรรศน์ นักวิจัยพบว่าการสัมผัสแอมโมเนียอาจกระตุ้นให้สัตว์เกิดความเปลี่ยนแปลงในรูปแบบต่างๆ โดยสำหรับสัตว์ปีกแล้ว การได้รับแอมโมเนียระดับสูงเป็นเวลา 20 วัน ทำให้พื้นผิวลำไส้มีขนาดเล็กลง (ซึ่งอาจส่งผลต่อการดูดซึมสารอาหาร), ลดความสามารถในการต้านทานภาวะเครียดออกซิเดชันในสัตว์, ความสามารถในการย่อยสารอาหารของระบบทางเดินอาหารลดลง และกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ในระบบภูมิคุ้มกัน การสัมผัสแอมโมเนียความเข้มข้นสูง แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก็อาจส่งผลต่อสัตว์ได้มากเทียบเท่ากับการสัมผัสแอมโมเนียความเข้มข้นปานกลางในระยะเวลาที่นานกว่า
อันตรายจากแอมโมเนียเข้มข้นที่กระทบต่อสัตว์ปีกและมนุษย์
5 ppm |
ระดับต่ำสุดที่รู้สึกได้ |
6 ppm |
ระคายเคืองดวงตาและระบบทางเดินหายใจ |
11 ppm |
ผลผลิตสัตว์ตกต่ำลง |
25 ppm |
ระดับการสัมผัสสูงสุดที่ยอมรับได้ในเวลา 1 ชั่วโมง |
35 ppm |
ระดับการสัมผัสสูงสุดที่ยอมรับได้ในเวลา 10 นาที |
40 ppm |
มนุษย์เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ และไม่อยากอาหาร |
50 ppm |
ผลผลิตและสุขภาพสัตว์ตกต่ำอย่างรุนแรง และเพิ่มความเป็นไปได้ที่จะเป็นโรคปอดอักเสบ |
100 ppm |
สัตว์เกิดอาการจาม น้ำลายไหล และระคายเคืองเยื่อเมือก |
300 ppm หรือมากกว่า |
เป็นอันตรายฉับพลันต่อชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ |
วิธีลดระดับแอมโมเนียในเล้าสัตว์ปีก กลยุทธ์ในการควบคุมแอมโมเนียในสัตว์ปีกมีหลากหลาย โดยสามารถนำมาใช้ได้ทั้งแบบเดี่ยวหรือผสมผสานกัน ซึ่งจะช่วยให้คุณภาพอากาศในโรงเรือนดีขึ้นและสัตว์ปีกอาจให้ผลผลิตได้ดียิ่งขึ้น กลยุทธ์เหล่านี้รวมถึงการระบายอากาศและการบริหารจัดการทั้งโรงเรือนและวัสดุรองพื้น/มูลสัตว์ปีก
การระบายอากาศถือเป็นการควบคุมคุณภาพอากาศภายในโรงเรือน ด้วยการกำจัดแอมโมเนียออกไปจากโรงเรือนและนำอากาศสะอาดเข้ามาแทนที่ แต่วิธีนี้ไม่ได้เป็นการลดหรือยับยั้งการก่อตัวของแอมโมเนียแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม การรักษาระดับการถ่ายเทอากาศให้เหมาะสมตลอดทุกช่วงฤดู จะช่วยลดระดับแอมโมเนียในอากาศภายในโรงเรือนและทำให้วัสดุรองพื้นแห้งสนิทไม่อับชื้น
การบริหารจัดการโรงเรือนที่ดีจะช่วยลดการก่อตัวของก๊าซแอมโมเนียได้ ซึ่งหนึ่งในวิธีการบริหารจัดการโรงเรือนอย่างเหมาะสมก็คือ การตรวจสอบว่าวัสดุรองพื้นหรือมูลสัตว์ไม่อยู่ในสภาพเปียกชื้น วิธีป้องกันไม่ให้วัสดุรองพื้นเปียกชื้นได้แก่ ซ่อมแซมอุปกรณ์ให้น้ำและระบบพ่นน้ำที่เกิดการรั่วไหล, เลือกวัสดุรองพื้นที่เหมาะสม, รักษาระดับความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนให้พอเหมาะกับอายุของสัตว์ปีก, ลดความแออัด และให้ความร้อนและระบายอากาศในโรงเรือนอย่างเพียงพอ
กลยุทธ์ในการจัดการวัสดุรองพื้นและมูลสัตว์ แบ่งออกเป็นการบริหารจัดการหลักๆ สองข้อดังนี้:
- การจัดการอาหารสัตว์ปีก: การก่อตัวของแอมโมเนียในมูลสัตว์และการปล่อยก๊าซสามารถสืบย้อนกลับไปถึงระดับไนโตรเจนที่เพิ่มสูงขึ้นในมูลสัตว์ ระดับไนโตรเจนจากมูลสัตว์จะเพิ่มขึ้นหากสัตว์ปีกไม่สามารถย่อยและดูดซึมโปรตีนจากอาหารสัตว์ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่ออาหารที่ให้แก่สัตว์ปีกมีส่วนผสมของโปรตีนเชิงซ้อนมากเกินควร, สัตว์มีอาการเจ็บป่วย หรือระบบทางเดินอาหารทำงานผิดปกติ ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขหรือป้องกันได้ด้วยการรักษาระดับโปรตีนและ/หรือกรดอะมิโนในอาหารสัตว์ให้สมดุล และดูแลระบบทางเดินอาหารของสัตว์ปีกให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ
อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันการปล่อยก๊าซแอมโมเนียจากไนโตรเจนในมูลสัตว์คือ การเพิ่มส่วนผสมต่างๆ เช่น สารสกัดจาก Yucca schidigera ซึ่งสามารถดักจับแอมโมเนียได้ De-Odorase® ผลิตจาก Yucca schigidera จึงสามารถลดยูเรียและแอมโมเนียมไอออนในเลือด ลดการย่อยสลายไนโตรเจนมากเกินควรในลำไส้ใหญ่ส่วนต้น และดักจับแอมโมเนียให้คงอยู่ในมูลสัตว์ต่อไปโดยไม่ถูกปล่อยออกมาในรูปของก๊าซ เมื่อนำผลิตภัณฑ์นี้มาใช้ร่วมกับอาหารสัตว์ตั้งแต่สัตว์ปีกถูกนำเข้ามาในโรงเรือนจนถึงเวลาที่ออกจากโรงเรือน จะช่วยควบคุมการปล่อยแอมโมเนียออกสู่อากาศได้
- การจัดการมูลสัตว์ภายในโรงเรือน: สารเพิ่มความเป็นกรดสามารถลดค่า pH ของวัสดุรองพื้น (ให้ต่ำกว่าค่าปกติที่ 7.5-8.5) ซึ่งจะช่วยหน่วงและลดกิจกรรมของจุลินทรีย์ย่อยสลายสารอาหารในมูลสัตว์เพื่อปล่อยแอมโมเนียได้ อีกกลยุทธ์หนึ่งคือการใช้สารดูดซับกลิ่นและความชื้นในวัสดุรองพื้นหรือมูลสัตว์ โดยสารเหล่านี้ซึ่งมักจะทำจากเคลย์เป็นหลัก จะทำหน้าที่ในการหน่วงให้กิจกรรมของจุลินทรีย์เกิดช้าลงหรือลดปริมาณความชื้นในวัสดุรองพื้น De-Odorase® สามารถนำมาใช้ในการฉีดพ่นคลุมหรือราดมูลสัตว์เพื่อควบคุมแอมโมเนียที่ถูกปล่อยออกมาและลดกลิ่นแอมโมเนีย หรือใช้เป็นตัวยับยั้งเอนไซม์จุลินทรีย์และยูรีเอสเพื่อป้องกันการทำงานของจุลินทรีย์และเอนไซม์ในมูลสัตว์ที่ทำให้เกิดการปล่อยแอมโมเนียก็ได้เช่นกัน
อย่างไรก็ดี กลยุทธ์ทั้งหมดนี้อาจมีประสิทธิภาพลดลงเนื่องจากการสะสมวัสดุรองพื้นและมูลสัตว์, ความชื้นในวัสดุรองพื้นและมูลสัตว์, ชนิดของสัตว์ปีก, อุณหภูมิในโรงเรือน, โรคภัยต่างๆ หรือปัจจัยเหล่านี้รวมกัน
สรุป
การปล่อยสารแอมโมเนียจากมูลสัตว์ในฟาร์มสัตว์ปีกและก๊าซแอมโมเนียในโรงเรือนเป็นประเด็นที่ซับซ้อนในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก แต่หากมีการถ่ายเทอากาศที่ดี การบริหารจัดการโรงเรือนที่ดี และใช้กลยุทธ์เพื่อลดการก่อตัวของก๊าซแอมโมเนียรวมกัน ก็จะสามารถเอาชนะปัญหานี้ได้สำเร็จ ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเวลาใดของปีก็ตาม
เนื้อหาในบล็อกนี้เป็นการสรุปบทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร Canadian Poultry