Skip to main content

ข้อเท็จจริงเรื่องผลกระทบของปศุสัตว์ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Submitted by kpoolsap on Wed, 10/06/2021 - 14:20

เราทุกคนเคยได้ยินกันมาแล้วว่าปศุสัตว์มีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่าโคกระบือที่มักจะถูกชี้เป้าว่าเป็นตัวการสำคัญที่ปล่อยก๊าซมีเทนอันส่งผลต่อการเกิดภาวะโลกร้อนอย่างมาก

 

แต่ถ้าเรามองเรื่องปศุสัตว์และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบผิดๆ มาโดยตลอดล่ะ

 

อย่างที่เราได้กล่าวถึงกันไปแล้วในโพสต์ก่อนหน้านี้ว่าปศุสัตว์มีบทบาทสำคัญต่อความเป็นไปในโลกของเรา และปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการเกษตรปศุสัตว์สร้างผลกระทบต่อการที่อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น อันเป็นสภาวะที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา ที่จริงแล้วปศุสัตว์ไม่ได้เป็นผู้ร้ายอย่างที่ถูกสร้างภาพไว้ และไม่ได้เป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Global greenhouse gas: GHG) ที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

แท้ที่จริงแล้ว หากได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ปศุสัตว์และเกษตรกรรมจะมีศักยภาพในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศเสียด้วยซ้ำ ด้วยการบริหารจัดการ วิธีการ และเทคโนโลยีที่ถูกต้อง สิ่งเหล่านี้อาจถึงขั้นช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนได้เลยทีเดียว ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างเริ่มต้นได้ด้วยการรับทราบข้อเท็จจริง และเรียนรู้ความเป็นไปได้ต่างๆ ไปด้วยกัน

 

การทำฟาร์มปศุสัตว์มีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอย่างไร

โดยทั่วไปแล้ว ปศุสัตว์และเกษตรกรรมจะถูกพาดพิงถึงในฐานะตัวการที่สร้างก๊าซเรือนกระจกได้อย่างร้ายแรงที่สุด พร้อมคำกล่าวอ้างว่า ปศุสัตว์มีการปล่อยก๊าซคิดเป็นสัดส่วน 14% ถึง 50% ของปริมาณก๊าซ GHG ทั้งหมดที่ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศเลยทีเดียว คนบางกลุ่มถึงกับกล่าวอ้างอย่างผิดๆ ว่าการผลิตเนื้อทั่วโลกทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมากกว่าภาคส่วนคมนาคมทั้งระบบเสียอีก

แต่ ดร. แฟรงค์ มิตโลฮ์เนอร์ (Frank Mitloehner) ผู้อำนวยการศูนย์ CLEAR ศาสตราจารย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพอากาศจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเดวิส ได้กล่าวไว้ว่า ตัวเลขที่ว่านี้ต้องมาพร้อมคำอธิบายที่ชัดเจนด้วย อีกทั้งยังไม่ได้สะท้อนถึงปริมาณการปล่อยก๊าซตามจริงจากปศุสัตว์ในประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีตัวเลขอยู่ที่เพียง 4% ของการปล่อยก๊าซทั้งหมดในสหรัฐฯ เลย

“ถ้าเทียบกันจริงๆ แล้ว ภาคส่วนที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลนี่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก 80% ของปริมาณทั้งหมดเลยนะครับ” ดร. แฟรงค์กล่าว

การปล่อยก๊าซจากปศุสัตว์ส่วนมากทั้งจากโคเนื้อและโคนม จะอยู่ในรูปของก๊าซมีเทน และถึงแม้ว่าก๊าซเรือนกระจก (ได้แก่ ก๊าซมีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ ไนตรัสออกไซด์ และกลุ่มฟลูออริเนต) จะมีศักยภาพในการทำให้โลกของเราร้อนขึ้นได้ทุกชนิด แต่ก๊าซมีเทนเป็นก๊าซที่มีประสิทธิภาพในการกักเก็บความร้อนยิ่งกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ จึงถือเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่ทรงพลังที่สุด โดยจากรายงานการประเมินครั้งที่ 5 ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ได้ระบุไว้ว่า ผลกระทบจากก๊าซมีเทนในช่วงเวลา 100 ปีให้ผลรุนแรงกว่าผลกระทบจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 28 เท่า

อย่างไรก็ตาม เมื่อได้ทำการวิเคราะห์ปรากฏการณ์เรือนกระจกและบทบาทของก๊าซเรือนกระจกในการเพิ่มอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกแล้ว ก๊าซมีเทนที่เกิดจากเหล่าโคกระบืออาจให้ผลกระทบต่ำกว่าที่เราเคยคิดกันไว้ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะอันที่จริงแล้ว ก๊าซมีเทนจะถูกรีไซเคิลไปตามกระบวนการธรรมชาติที่เรียกว่า วัฏจักรคาร์บอนชีวภาพ และเพราะบทบาทของโคกระบือและสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิดอื่นๆ ที่มีต่อวัฏจักรนั้นๆ สัตว์เหล่านี้จึงมีศักยภาพที่จะเป็นแรงผลักดันในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตอีกหลายปีและหลายสิบปีต่อจากนี้

 

ปศุสัตว์ ก๊าซมีเทน และวัฏจักรคาร์บอนชีวภาพ

วัฏจักรคาร์บอนชีวภาพ คือ กระบวนการรีไซเคิลคาร์บอนของพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีวิธีการทำงานดังนี้:

 

  • พืชดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในอากาศด้วยการสังเคราะห์ด้วยแสงและเปลี่ยนเป็นคาร์โบไฮเดรต

 

  • คาร์โบไฮเดรตจากคาร์บอนจะถูกดูดซับไว้ในดินและกักเก็บไว้ในต้นพืช จนกว่าจะถูกบริโภคโดยสัตว์เคี้ยวเอื้องอย่างโคกระบือ

 

  • คาร์บอนดังกล่าวบางส่วนจะถูกปล่อยคืนกลับสู่บรรยากาศในรูปของก๊าซมีเทนผ่านการเรอของสัตว์และมูลสัตว์

 

  • เมื่อเวลาผ่านไปประมาณสิบกว่าปี ก๊าซมีเทนดังกล่าวจะสลายตัวและเปลี่ยนกลับไปเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ และเริ่มวัฏจักรดังกล่าวใหม่อีกครั้ง

 

วัฏจักรคาร์บอนชีวภาพถือเป็นส่วนสำคัญของชีวิต ซึ่งก็คือ เป็นอาหารให้แก่พืช พืชเป็นอาหารให้แก่สัตว์ และสัตว์เป็นอาหารให้แก่มนุษย์

ในวัฏจักรคาร์บอนชีวภาพนั้น คาร์บอนไม่ได้ถูกสร้างและสะสมขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่จะผ่านกระบวนการรีไซเคิล และที่สำคัญก็คือ วัฏจักรคาร์บอนชีวภาพเกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว โดยใช้เวลาตลอดกระบวนการเป็นหลักสิบปี ไม่ใช่หลักร้อยหรือพันปีอย่างในกระบวนการระเหิดกลับของก๊าซเรือนกระจกจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

 

ใช่ว่าก๊าซเรือนกระจกทุกชนิดจะเท่าเทียมกัน

ความรวดเร็วดังกล่าวนั้นคือสิ่งที่ทำให้ก๊าซมีเทนไม่เหมือนกับก๊าซเรือนกระจกใด เพราะก๊าซมีเทนมีปฏิกิริยาที่แตกต่างจากก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ในชั้นบรรยากาศ ดังนั้นจึงส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนในระยะยาวที่ต่างออกไปด้วย ข้อมูลจากศูนย์ CLEAR ระบุว่าปัจจัยสำคัญที่มีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนจากก๊าซเรือนกระจกคือ ก๊าซดังกล่าวเป็นก๊าซสะสมหรือก๊าซไหลเวียน

 

ก๊าซสะสม (Stock gas) มีอายุยืนยาว ตกค้างและสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลกเป็นเวลานับพันๆ ปี อย่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่ในชั้นบรรยากาศหลายร้อยปีก็ถือเป็นก๊าซสะสม โดยจะมีผลกระทบต่อสภาพอากาศในแง่ภาวะโลกร้อนอย่างยาวนานและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ 

ส่วนก๊าซไหลเวียน (Flow gas) เป็นก๊าซอายุสั้นที่จะถูกกำจัดออกจากชั้นบรรยากาศอย่างรวดเร็วกว่ามาก และเพราะก๊าซไหลเวียนจะไม่สะสมในชั้นบรรยากาศ จึงให้ผลกระทบในด้านภาวะโลกร้อนเป็นระยะเวลาที่สั้นกว่าก๊าซสะสม

ทั้งนี้ ก๊าซมีเทนเป็นก๊าซไหลเวียนที่มีอายุขัยในชั้นบรรยากาศประมาณ 12 ปี ดังนั้น ก๊าซมีเทนจากแหล่งกำเนิดใหม่จะทำให้โลกร้อนขึ้นเป็นเวลา 12 ปี แต่หากยังมีอัตราการปล่อยก๊าซใกล้เคียงอัตราคงที่อย่างสม่ำเสมอ ก๊าซมีเทนจะถูกทำลายไปในอัตราคร่าวๆ เทียบเท่ากับอัตราการเกิดนั่นเอง โดยจะแตกตัวเป็นโมเลกุลส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สามารถกำจัดออกไปจากชั้นบรรยากาศและรีไซเคิลในวัฏจักรคาร์บอนชีวภาพ

“ก๊าซมีเทนจากการเกษตรปศุสัตว์เป็นก๊าซไหลเวียนได้ก็เพราะว่ามันไม่ได้มีแต่การเกิดขึ้นมาอย่างเดียว แต่มันมีการทำลายและกำจัดออกไปจากชั้นบรรยากาศด้วยครับ” ดร. แฟรงค์กล่าว

สรุปคือ ก๊าซมีเทนไม่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศในลักษณะเดียวกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยเหตุนี้ หากเราจะวางแผนลดความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่ออนาคต จึงควรใช้วิธีคิด ปฏิบัติ และกำหนดกลยุทธ์ที่ต่างออกไป

 

การรับประทานเนื้อสัตว์ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร

แหล่งข้อมูลบางแห่งพุ่งเป้าโจมตีมาที่ปศุสัตว์เคี้ยวเอื้องต่างๆ อย่างโคกระบือและแกะว่าเป็นแหล่งอาหารที่สร้างคาร์บอนจำนวนมาก อันเนื่องมาจากก๊าซมีเทนที่ถูกปล่อยออกมาและทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเลี้ยงดูสัตว์เหล่านี้ แต่อย่างที่เราได้พูดคุยกันไปแล้วว่าก๊าซมีเทนจากปศุสัตว์ไม่อาจเทียบกับก๊าซเรือนกระจกจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลในระบบคมนาคมและกระบวนการอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้เลย

แต่หากชาวอเมริกันหยุดทานเนื้อสัตว์จริง แล้วเรื่องนี้จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร ดร. แฟรงค์ ได้ระบุไว้ว่า การปล่อยก๊าซในสหรัฐอเมริกาจะลดลงไม่ถึง 3% ดังที่ศาสตราจารย์แมรี่ เบธ ไวท์ (Mary Beth White) และโรบิน อาร์ ฮอลล์ (Robin R. Hall) ได้ประเมินไว้ในเอกสารปีค.ศ. 2017 ว่า “ส่งผลต่อสภาพอากาศเพียงเล็กน้อยและในระยะสั้น” ตามคำอธิบายของ ดร. แฟรงค์

ในทางกลับกัน การทานเนื้อสัตว์ทำให้เรากลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรคาร์บอนชีวภาพ และทำให้เราได้ใช้ประโยชน์จากผืนดินที่อาจถูกปล่อยให้ว่างไปเสียเปล่า เพราะสัตว์เคี้ยวเอื้องอย่างโคกระบือเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรคาร์บอนชีวภาพที่ช่วยรีไซเคิลคาร์บอนด้วยการกินพืชที่มนุษย์ทานไม่ได้ เช่น หญ้าและไม้พุ่ม เป็นต้น และในระหว่างที่เกิดวัฏจักรคาร์บอนชีวภาพ จะพบได้ว่ามีเซลลูโลสก่อตัวขึ้นปริมาณสูงมากเป็นพิเศษในพืชที่เติบโตใน “พื้นที่ด้อยคุณภาพ” อันเป็นบริเวณที่ไม่เหมาะสมแก่การทำเกษตร อ้างอิงจากข้อมูลของศูนย์ CLEAR แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเดวิส ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถย่อยเซลลูโลสได้ แต่สัตว์เคี้ยวเอื้องอย่างโคกระบือทำได้ วัฏจักรคาร์บอนชีวภาพจึงมีความสำคัญในการทำให้ปศุสัตว์เปลี่ยนพืชที่ไม่สามารถย่อยได้และที่ดินที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ให้กลายเป็นแหล่งอาหารสำคัญสำหรับมนุษย์

แนวปฏิบัติด้านเกษตรกรรมที่ชาญฉลาดสามารถช่วยลดทอนผลกระทบจากการเลี้ยงดูปศุสัตว์เคี้ยวเอื้องต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งนี่เป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมานานหลายทศวรรษแล้ว โดยทางนิตยสาร Progressive Cattle ได้อ้างว่า สัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากโคกระบือต่อเนื้อวัวหนึ่งปอนด์ลดลง 6% ตั้งแต่ปี 1990 อีกทั้งเจอร์รี่ บอห์น (Jerry Bohn) ประธานสมาคม National Cattlemen’s Beef Association ก็ได้กล่าวว่าการปล่อยก๊าซจากโคกระบือในช่วงปีค.ศ. 1975 ถึง 2017 ลดลงถึง 30% ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่ชัดเจน และทำให้เห็นโอกาสที่หลากหลายเลยทีเดียว

เมื่อผู้บริโภคเลือกฟาร์มปศุสัตว์และเกษตรกรรมที่ใช้แนวปฏิบัติในการทำฟาร์มที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อันได้แก่วิธีการต่างๆ เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากปศุสัตว์ การปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืชหมุนเวียน และการเพิ่มต้นไม้ในพื้นที่เลี้ยงสัตว์ด้วยแนวปฏิบัติทุ่งปศุสัตว์ในพื้นที่ป่า นั่นเท่ากับได้ลงทุนในวัฏจักรคาร์บอนชีวภาพและเป็นการส่งเสริมเกษตรกรที่สร้างผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในทางที่ดี

 

การลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากปศุสัตว์

เนื่องจากก๊าซมีเทนจากเกษตรกรรมไม่ได้สะสมในชั้นบรรยากาศในอัตราเดียวกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จึงมีความหมายโดยนัยที่น่าแปลกใจดังนี้ คือ หากก๊าซมีเทนจากโคกระบือลดลง จะให้เกิดอิทธิพลความเย็น ซึ่งช่วยชดเชยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเชื้อเพลิงฟอสซิลในวัฏจักรคาร์บอนชีวภาพได้ อีกทั้งเมื่อมีการทำความเข้าใจถึงพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์กายภาพของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น รวมไปถึงบทบาทของเทคโนโลยีในการช่วยบรรเทาภาวะดังกล่าว เกษตรกรต่างก็จะร่วมมีส่วนในความพยายามครั้งนี้ได้ในเชิงรุก เพราะเกษตรกรสามารถลดปริมาณก๊าซมีเทนที่เกิดจากปศุสัตว์ของตนได้หลากหลายวิธี อาทิเช่น

 

  • การผสมสารเสริมที่สามารถช่วยลดก๊าซมีเทนในอาหารสัตว์ เช่น สารแทนนิน สาหร่าย ไขมัน และน้ำมัน ซึ่งช่วยยับยั้งเมทาโนเจนในรูเมน เหล่าเกษตรกรยังเริ่มมองหาวิธีการอื่นๆ เช่น ยีสต์ เพื่อลดการปล่อยก๊าซมีเทนและอัตราการขับถ่ายไนโตรเจน ควบคู่ไปกับการเพิ่มผลผลิตนม ปริมาณไขมันนมและโปรตีน และการจับไนโตรเจนด้วยแบคทีเรียในรูเมนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

  • การพิจารณากลยุทธ์การให้อาหาร เช่น การเพิ่มระดับไขมันในอาหารและการเพิ่มสัดส่วนธัญพืชในอาหารโคกระบือ ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนได้ โดยหน่วยงาน Agriculture and Agri-Food Canada  ระบุว่า อาหารประเภทเมล็ดพืชน้ำมันบด (เช่น เมล็ดทานตะวัน คาโนลา หรือเมล็ดแฟลกซ์) หรือกากข้าวโพด ช่วยลดพลังงานที่สูญเสียไปในรูปก๊าซมีเทนได้มากถึง 20% ซึ่งถือว่าเห็นผลมากจากการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย

 

  • การสำรวจการเปลี่ยนแปลงวิธีบริหารจัดการและการจัดเก็บมูลสัตว์ เช่น การเติมอากาศและการหมักมูลโคกระบือเพื่อลดปริมาณก๊าซมีเทนที่เกิดขึ้น อีกทั้งก๊าซมีเทนจากมูลสัตว์ยังสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานได้ ด้วยเทคโนโลยี Dairy digester ซึ่งจะเปลี่ยนมูลสัตว์เป็นก๊าซธรรมชาติ เพื่อใช้เดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยก๊าซธรรมชาติ หรือจำหน่ายให้แก่บริษัทสาธารณูปโภคในท้องถิ่น

 

อนาคตและโอกาส

เกษตรกรรมและปศุสัตว์อาจสร้างผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมายก็จริง แต่อุตสาหกรรมนี้ก็ยังมีอนาคตที่สดใส หากเรามีการตัดสินใจที่ชาญฉลาด มีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในเรื่องการเลี้ยงดูปศุสัตว์อย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมการเกษตรอาจมีโอกาสที่จะทำอะไรอย่างอื่นได้มากกว่าเพียงแค่ลดการปล่อยก๊าซ โดยอาจช่วยสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับโลกก็เป็นได้ และหากเลือกสนับสนุนเกษตรกรเหล่านี้ ผู้บริโภคทั่วไปก็สามารถมีส่วนร่วมในความพยายามดังกล่าวด้วยเช่นกัน

สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ได้ระบุโอกาส รวมถึงอุปสรรคสำหรับอุตสาหกรรมการเกษตรไว้ว่า “แม้ว่านวัตกรรมอุตสาหกรรมจะเปิดโอกาสให้เกษตรกรใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าที่เพิ่มมากขึ้นในด้านความยั่งยืนแล้ว แต่เราเองก็ต้องช่วยให้เกษตรกรเกิดความสะดวกและสร้างผลกำไร อันเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างผลกระทบต่อสภาพอากาศเชิงบวกด้วย”

เหล่าเกษตรกรและเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ทั้งหลายต้องการข้อมูลที่ถูกต้องและวิธีการเชิงวิทยาศาสตร์ที่เข้าถึงได้และให้ผลดีต่อปศุสัตว์ของตน รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ซึ่งวิธีการเหล่านั้นต้องเตรียมพร้อมไว้สำหรับเกษตรกรทั่วโลก พร้อมทั้งเครือข่ายข้อมูลร่วมว่าด้วยแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดและวิธีปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับประเทศ วัฒนธรรม และสภาพอากาศที่แตกต่างกันไป และนี่คือวิธีที่เกษตรกร เจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ และอุตสาหกรรมปศุสัตว์จะทำงานร่วมกันเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันจะนำไปสู่โลกแห่งความอุดม หรือ Planet of Plenty™ ในท้ายที่สุด

<>Premium Content
Off
<>Featured Image
<>Date
<>Featured Image License
Off
<>Feature
Off
<>Primary Focus Area
<>Article Type

3 วิธีช่วยเพิ่มผลผลิตน้ำนม พร้อมไปกับการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์

Submitted by kpoolsap on Wed, 10/06/2021 - 13:27

ในอุตสาหกรรมโคนม การใช้วิธีแก้ปัญหาแบบ “ยิงปืนนัดเดียว ได้นกสองตัว” ให้สำเร็จนั้น ต้องอาศัยนวัตกรรมและข้อมูลที่นำไปใช้ได้จริง อย่างเช่นในกรณีการหาวิธีช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์หรือก๊าซเรือนกระจกในการเลี้ยงโคนม  ในขณะที่ยังคงสามารถรักษาผลผลิตน้ำนมให้สูงอยู่ได้

 

เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องเข้าใจว่าธุรกิจการผลิตน้ำนมนั้นกำลังอยู่บนเส้นทางที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ข้อมูลเชิงลึก จาก IFCN แสดงให้เห็นว่าการผลิตน้ำนมจะเพิ่มขึ้นถึง 35% ระหว่างปีค.ศ. 2017 และ 2030 ถือว่าเป็นระดับความเติบโตที่สดใสสำหรับอุตสาหกรรม แต่ก็ยังมีความท้าทายและคำถามมากมายเกี่ยวกับความสามารถในการผลิตที่เพิ่มขึ้นด้วยทรัพยากรที่น้อยลง ในขณะที่ต้องใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน และท้ายที่สุด เราจะต้องทำทุกสิ่งที่กล่าวมาให้สำเร็จ โดยที่เราต้องมีความโปร่งใสต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับการแสดงให้เห็นว่าน้ำนมที่พวกเขาบริโภคนั้นถูกผลิตมาอย่างไรมากขึ้นด้วย

คำถามสำคัญคือ: เราจะสามารถลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ในขณะที่ผลผลิตน้ำนมและผลกำไรของเราเพิ่มขึ้นได้หรือไม่?

ก๊าซเรือนกระจกเป็นหัวข้อที่อยู่ในกระแสของผู้บริโภคมานานหลายปี และในขณะนี้ก็กำลังเป็นพูดถึงมากขึ้นในหมู่ผู้เลี้ยงโคนมทั่วโลก เนื่องจากมีกฏข้อบังคับและการริเริ่มแผนงานต่างๆ จากหลายภาคส่วนปรากฏออกมา การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้สำเร็จนั้น เราต้องมองไปที่วิธีในการเพิ่มประสิทภาพการผลิตให้ได้สูงสุด นั่นรวมถึงการแก้ปัญหาด้านโภชนาการ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญต่อไปจากนี้

ผู้ประกอบการโคนมสามารถนำวิธีการด้านโภชนาการ มาใช้เป็นเครื่องมือในการลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากโคนมได้ แต่เทคโนโลยีที่จะให้ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมนั้นต้องไม่ลดสมรรถภาพของสัตว์ เพราะนั่นหมายถึงการที่เราจะต้องเพิ่มปริมาณสัตว์ขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการอาหารที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะพิจารณาเรื่องวิธีการ ผู้ประกอบการโคนมจะต้องวัดค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในฟาร์มของตัวเองเสียก่อน

 

เครื่องมือที่หนึ่ง: Alltech E-CO2 (ออลเทค อี-ซีโอทู)

เพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้สำเร็จนั้น เราต้องรู้ก่อนว่าก๊าซเรือนกระจกนั้นถูกปล่อยมาจากที่ใด ผู้ให้บริการวิเคราะห์ เช่น Alltech E-CO2 (ออลเทค อี-ซีโอทู) สามารถระบุบริเวณที่มีการปล่อยก๊าซฯ และแสดงปริมาณของก๊าซฯ ที่ปล่อยออกมา ด้วยกระบวนการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการรับรอง ในช่วงเวลามากกว่า 10 ปีที่ผ่านมา และการประเมินมากกว่า 10,000 ครั้ง Alltech E-CO2    ได้พบว่าแหล่งของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในฟาร์มโคนม หลักๆ มีสองจุด ได้แก่ การปล่อยก๊าซฯ จากระบบหมักย่อยอาหารของสัตว์ (เช่น มีเทนจากกระเพาะรูเมน) และการใช้อาหารสัตว์ ทั้งสองแหล่งนี้มีปริมาณก๊าซฯ ที่ปล่อยออกมารวมกัน สูงกว่า 60% ของการปล่อยก๊าซฯ ทั้งหมดในการผลิตโคนม ซึ่งทั้งสองจุดนี้มีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพของกระเพาะรูเมนและความสามารถของสัตว์ในการนำอาหารไปใช้

การที่จะลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในฟาร์มให้ประสบความสำเร็จนั้น เราต้องมองถึงความสมดุลของการปล่อยก๊าซฯ ของทั้งฟาร์ม ไม่ใช่มองที่การปล่อยก๊าซประเภทใดประเภทหนึ่ง ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งเท่านั้น วิธีหนึ่งที่จะทำเช่นนั้นได้คือการเฝ้าสังเกตการณ์ตลอดทั้งวัฎจักร สิ่งสำคัญคือการมองเห็นโอกาสในการลดของเสียและเพิ่มประสิทธิภาพของฟาร์มให้สูงขึ้น ซึ่งนั่นหมายถึงกำไรที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ประกอบการนั่นเอง

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Alltech E-CO2 ได้ที่นี่

 

เครื่องมือที่สอง: OPTIGEN® (ออพติเจน)

Optigen คือส่วนผสมอาหารสัตว์ที่มีข้อมูลจากการทดลองมากมาย ที่แสดงให้เห็นว่าช่วยส่งเสริมการผลิตน้ำนมอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน Optigen เป็นแหล่งไนโตรเจนที่ไม่ใช่โปรตีนชนิดเข้มข้น ที่จะปล่อยไนโตรเจนเข้าสู่กระเพาะรูเมนของโคอย่างช้าๆ ทำให้แอมโมเนียถูกปลดปล่อยออกมาได้ยาวนาน ซึ่งจะทำงานประสานไปกับการย่อยคาร์โบไฮเดรตหมักในกระเพาะรูเมน และนี่จะทำเกิดการสังเคราะห์โปรตีนจากจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนอย่างมีประสิทธิภาพ

 

เพื่อรวบรวมหลักฐานที่ชัดเจนที่แสดงว่ากลยุทธ์ด้านอาหารสัตว์สามารถถูกใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือเพื่อลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้อย่างไร องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้พัฒนาข้อแนะนำมาตรฐานของผลลัพธ์ในการใช้สารเสริมอาหารสัตว์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมขึ้นมา ซึ่งมีการแนะนำให้ดูข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์อภิมาน (meta-analyses) และการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (life cycle analyses)  ร่วมกัน การวิเคราะห์อภิมานนั้นจะช่วยให้สามารถได้ข้อสรุปด้วยการวิเคราะห์เชิงสถิติแบบวงกว้าง ที่อ้างอิงจากการรวบรวมข้อมูลในการศึกษามากมายในช่วงเวลาหลายปี ส่วนการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้นจะช่วยให้เราประเมินปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาตลอดห่วงโซ่อุปทาน หรือ ในรอบการผลิตของผลิตภัณฑ์นั้นๆ การผสมผสานข้อมูลจากทั้งสองวิธีนี้จะแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีอาหารสัตว์สามารถมีส่วนในการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ/หรือใช้รับรองผลลัพธ์ด้านความยั่งยืนได้อย่างไร

ภาพอินโฟกราฟฟิกนี้เป็นตัวอย่างของการวิเคราะห์อภิมานของผลิตภัณฑ์ Optigen ช้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์อภิมานนี้ชี้ให้เห็นว่า จากการวิจัยที่มีมายาวนานกว่าสองทศวรรษ การใช้ Optigen มีความสัมพันธ์กับการลดลงของการใช้แหล่งโปรตีนจากพืชในอาหารสัตว์ โดยเฉลี่ย 23% โดยเฉพาะกากถั่วเหลือง ที่สามารถลดปริมาณลงได้ถึงประมาณ 21% รวมถึงแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการใช้อาหารที่เพิ่มขึ้นประมาณ 3% นอกจากนั้นแล้วอาหารสัตว์ที่มีการใช้ออพติเจนในสูตรและลดปริมาณแหล่งโปรตีนจากพืชลง ก็แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการนำไนโตรเจนไปใช้ที่ดีขึ้นถึง 4% และนั่นทำให้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของอาหารที่สัตว์ใช้ในการผลิตน้ำนมลดลงได้ถึง 14%

 อ่านข้อมูลจากการวิเคราะห์อภิมานฉบับเต็มได้ที่นี่

 

เครื่องมือที่ 3: Yea-Sacc®  (ยี-แซค)

มีบางผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดเช่น ผลิตภัณฑ์ประเภทยีสต์ ที่อาจช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้ดีขึ้น ในขณะที่ช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ไปพร้อมกัน Yea-Saccคือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากยีสต์สายพันธุ์ Saccharomyces cerevisiae ซึ่งมีคุณสมบัติในการปรับการทำงานในกระเพาะรูเมน โดยการเข้าไปส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ใช้กรดแลคติก ช่วยทำให้ค่า pH ในกระเพาะรูเมนมีความเสถียร ในขณะเดียวกัน ก็ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยอาหารของโคและการนำไปโภชนะไปใช้ ซึ่งจะทำให้โคสามารถดูดซึมสารอาหารได้มากขึ้นเพื่อการผลิตน้ำนมที่มากขึ้นนั่นเอง  

จากการวิเคราะห์อภิมาน ที่รวมงานศึกษาวิจัย 31 ชิ้น ได้แสดงให้เห็นว่าการให้ Yea-Saccแก่โคนมสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตน้ำนมได้โดยเฉลี่ย 1 กก./ตัว/วัน อีกทั้งยังช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้ราว 3% และลดความเข้มข้นของการปล่อยไนโตรเจนลงได้ประมาณ 5.4% ตัวเลขดังกล่าวนี้เป็นตัวอย่างให้เห็นแล้วว่าการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ดีขึ้น ไปพร้อมกับการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์และความเข้มข้นของการปล่อยไนโตรเจนเป็นเรื่องที่เป็นไปได้

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ของการใช้ Yea-Sacc® ได้ที่นี่

 

ในตอนต้นของบทความนี้ เราได้ถามคำถามว่า: เราจะสามารถลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ในขณะที่ผลผลิตน้ำนมและผลกำไรของเราเพิ่มขึ้นได้หรือไม่? ด้วยเครื่องมือทั้ง 3 ที่ได้กล่าวถึงในบทความนี้ เราจึงตอบได้ว่า: ใช่ เราสามารถลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการผลิตน้ำนมและเพิ่มผลตอบแทนทางเศรษฐกิจไปพร้อมกันได้ จากข้อมูลการวิเคราะห์อภิมานหลายชิ้น ก็ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า คุณสามารถเลือกใช้วิธีการจัดการด้านอาหารสัตว์ที่มีให้บริการในท้องตลาด ควบคู่ไปกับการวางกลยุทธ์ด้านโภชนาการ เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตและผลกำไรและยังสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระบบการผลิตโคนมของคุณไปพร้อมกันได้

<>Premium Content
Off
<>Featured Image
<>Date
<>Featured Image License
Off
<>Feature
Off
<>Primary Focus Area
<>Article Type

Su: Kanatlı beslenmesinde gözden kaçan, temel bir unsur

Submitted by oozulker on Wed, 10/06/2021 - 06:31

Bununla birlikte, yem ve su yakından bağlantılıdır. Kanatlılar, tipik olarak eşdeğer yem ağırlığının 1,6 ila iki katı kadar içerler ve su alımı sınırlıysa yem alımı azalır. Ayrıca, tüm sindirim aktivitesi suya bağlıdır. Kötü su kalitesi, en kaliteli yemden bile beklenenden daha az sonuç alınması anlamına gelebilir.

Bu öğenin temellerine geri dönelim. Yeni yerleştirilmiş civcivlerin iyi bir başlangıç ​​yapmasına yardımcı olmak için su alımını kullanmanın birkaç yolu vardır.

Su kalitesi profilleri

Mineraller, sert ve yumuşak su, pH ve alkalinite

Mineral içeriği, pH, mikrobiyal kirlilik ve sıcaklık su kalitesini ve alımını etkiler. Su kalitesi profilleri pH, alkalinite ve sertliği içerir.

pH, pH'ı 7 olan saf su ile kıyaslanan bir asitlik ölçüsüdür. 7'den küçük değerler asidik olarak kabul edilirken, 7'nin üzerindeki değerler bazik veya "alkali" olarak kabul edilir. Alkalinite, su kaynaklarının pH'ı (toplam asitliği) değiştirmeden eklenen asitleri tamponlama kapasitesini yansıtır. Su sertliği, pH ve/veya alkalilik her zaman doğrudan ilişkili değildir, ancak genellikle sert suyun pH'ı daha yüksektir.

Sert su, yağmur suyu kaya katmanlarından süzülürken toplanan kalsiyum ve magnezyum iyonları şeklinde daha fazla miktarda mineral içerir. Buna karşılık, yumuşak su daha fazla sodyum iyonuna sahiptir. Sert su ile ilgili zorluk, boruları kademeli olarak daraltan kireç oluşumuna neden olmasıdır. Kireç su akışını yavaşlatır, bu da sonuçta su tüketimini ve dolayısıyla yem alımını azaltır.

Magnezyum, demir, kükürt, sodyum ve bakır gibi mineraller, acı tadı nedeniyle çok yüksek konsantrasyonlarda su reddine neden olabilir veya sert veya yumuşak sudan müshil etkileri olabilir. Yüksek mineral seviyeleri doğal sebeplerden veya kirlilikten kaynaklanabilir.

Bakteriyel sayımlar ve biyofilmler

Mililitre su başına sıfır bakteri arzu edilir, ancak kontaminasyon yaygındır. Koliform bakteriler özel bir endişe kaynağıdır. Koliformlar, hayvan ve insan sindirim sistemlerinde bulunur ve bunların yer altı veya yüzey sularındaki varlığı fekal kontaminasyonu gösterir.

Biyofilmler, su hatlarının iç duvarlarına yapışan bakteri kolonilerinden kaynaklanır. Diğer mikropları ve kalıntıları çeken bir film üretirler. Parçalar halinde bir biyofilm oluşabilir ve bazen boru duvarlarını tamamen kaplayabilir. Biyofilmler bakterileri antibiyotiklerden ve dezenfektanlardan korur ve su hatlarını tıkayabilir. Biyofilmlerdeki bakteriler (koliformlar dahil), suluk hatlarının sonu gibi suyun en yavaş hareket ettiği veya sıcaklığın yükseldiği yerlerde ve bir sonraki kullanımdan önce su hattında kaldığında gelişir.

Bağırsak sağlığını geliştirmek için su kullanmak

Yerleştirmeden sonra civciv hidrasyonu

Yaşamın ilk haftasında erken ve yeterli su alımı çok önemlidir. Civcivlerin ahıra susuz olarak gelmesi nadir değildir ve hızlı çözüm gereklidir. Civcivler, doğru sıcaklık ve akış hızında temiz su dağıtan sulukların yanına yerleştirildiğinde daha çabuk içerler. Dikkat çeken ışıklar ve yansıtıcı suluk yüzeyleri de yardımcı olur.

Su ve bağırsak sağlığı

Civcivlerin sindirim sistemi, yaşamın ilk haftasında hızla gelişir ve bu süre zarfında bağırsak sağlığını geliştirmek için yapabileceğimiz her şey, daha düşük erken ölüm oranı ve genel yem verimliliği sağlar. Sağlıklı bir bağırsak, patojen savunmasına ve yem sindirimine yardımcı olmak için mikropların, enzimlerin ve sağlıklı bağırsak villuslarının doğru karışımına sahiptir. Bu varlıkların var olduğu ortam sudur.

Mikrobiyal büyüme ve sindirim enzimi aktivitesi pH'a duyarlıdır. E. coli ve Salmonella dahil olmak üzere koliformlar, 7'nin üzerindeki pH seviyelerinde en iyi şekilde büyürler. Buna karşılık, laktobasiller gibi faydalı bakteriler daha asidik koşullarda (7'nin altında) gelişir. pH, sindirim sistemi boyunca değişir, protein sindirimi için midede en düşük (~2) değerler, daha sonra yağların ve karbonhidratların sindirimi için bağırsak ve kolonda daha yüksek değerlerle değişir. Civcivler, başlangıçtan itibaren doğru bağırsak pH'ını koruma yeteneğine ihtiyaç duyar, ancak bağırsak hücreleri hala gelişmektedir. Tavuklara yardım etmenin basit bir yolu, içme suyunun pH'ını düşürmektir.

Asitleştirme: Daha iyi kanatlı sağlığı için içme suyu pH'ının düşürülmesi

Acid-Pak® Water Soluble 2X sitrik asit tamponu, mineral ve elektrolitler içerir. Suya eklendiğinde pH'ı düşürür (yani asitliği artırır), bu da tavuklara yarar sağlar. Su pH'ı 4.5-5.5'e düşürülür, böylece bağırsakta laktobasiller gibi normal ve sağlıklı bakterilerin büyümesini destekler. Aynı zamanda, düşük pH, koliformların büyümesini engeller. Düşük su pH'ı, pH'ı kontrol ettiği, faydalı mikrobiyal büyümeyi desteklediği ve enzim üretimine yardımcı olduğu için civcivlerin kuru yemlere uyum sağlamasına da yardımcı olur.

<>Premium Content
Off
<>Featured Image
<>Date
<>Featured Image License
Off
<>Feature
On
<>Primary Focus Area
<>Article Type

Bioplex High-5

Submitted by kleech on Tue, 10/05/2021 - 10:13

BIOPLEX® HIGH FIVE is a specific formulation of five highly bioavailable organic trace minerals designed to address major reproductive challenges of ruminants. Building up and maintaining the micronutrient profile of the animal is critically essential to support normal reproductive processes such as follicular development, ovulation, expression of heat, conception, and embryo implantation. 

<>Focus Areas (taxonomy)
<>Feature
Off
<>Accordion
<>Icons
<>Icon with Multi-Row Text

Blueprint Feedmill

Submitted by kleech on Tue, 10/05/2021 - 10:10

Specific formulation of organic trace minerals in Blueprint® Feed Mill designed to address major reproductive challenges of ruminants. Building up and maintaining the micronutrient profile of the animal is critically essential to support normal reproductive processes such as follicular development, ovulation, expression of heat, conception and embryo implantation. 

<>Focus Areas (taxonomy)
<>Feature
Off
<>Accordion
<>Icons
<>Icon with Multi-Row Text

Alltech Aquaculture Premix (Pangerius Premix)

Submitted by kleech on Tue, 10/05/2021 - 10:06

Aquaculture premix (known as Pangesius Premix) is the complete mixture between Alltech’s organic trace mineral and high-quality vitamin to support growth and meat quality.

Alltech has been a pioneer in redefining trace mineral nutrition through research and innovations proving that modern management of mineral nutrition can be carried out by the inclusion of organic trace minerals at significantly lower levels than inorganics, while improving performance, delivering a cost-effective return, and alleviating environmental concerns.

<>Focus Areas (taxonomy)
<>Feature
Off
<>Accordion
<>Icons
<>Icon with Multi-Row Text

Bioplex GF

Submitted by kleech on Tue, 10/05/2021 - 10:04

Bioplex-GF helps producers improve meat quality. 

It has been consistently used to: 

• Help control P2 backfat levels 

• Increase eye loin muscle area 

• Reduce drip loss and increase shelf life 

• Enhancing water-holding capacity of pork improving meat color. 

• Decreasing drip loss and back fat 

• Increasing slaughter rate and improving FCR 

<>Focus Areas (taxonomy)
<>Feature
Off
<>Accordion
<>Icons
<>Icon with Multi-Row Text

Guardicate

Submitted by kleech on Tue, 10/05/2021 - 10:03

GUARDICATE™ is Alltech's most updated technology, aiming at improving the safety of animal feeds and its components. Research showed that the technologies inside GUARDICATE™ could combat viral pathogens in feed and/or ingredients, and mitigate potential risks in feed. 

<>Focus Areas (taxonomy)
<>Feature
Off
<>Accordion
<>Icons
<>Icon with Multi-Row Text

Bioplex-B

Submitted by kleech on Tue, 10/05/2021 - 10:01

The Alltech® Mineral Management program provides 100% organic trace minerals for poultry farming. It is better absorbed, efficiently utilised, and better stored by the birds. Studies have shown that Bioplex® organic trace elements used in lower amounts maintain the same performance. Bioplex is also more cost effective to use and causes less harm to the environment. Wave goodbye the old farming methods and start adopting the Alltech Mineral Management program! 

Bioplex® B is the perfect answer for modern poultry. Designed to reach the genetic potential of modern poultry, Bioplex B not only enhances fertility and feed eciency but also delivers better profitability. Bioplex B strictly follows the Q+ (Quality Plus) Program for quality control and strict monitoring of dioxins, polychlorinated biphenyls and heavy metal contaminants, before and after the production process. It ensures the quality and safety of each batch of products, so that feed manufacturers and chicken farms can use it with confidence. 

<>Focus Areas (taxonomy)
<>Feature
Off
<>Accordion
<>Icons
<>Icon with Multi-Row Text

MLR-100

Submitted by kleech on Tue, 10/05/2021 - 09:58

MLR-100™ is a baseline protection plan that allows for increased performance parameters under a low-risk feedstuffs challenge. Composed of select yeast components, MLR-100 helps producers fight the ongoing threat of mold and its byproducts in feedstuffs. 

Developed specifically to tackle lower-risk feedstuff challenges, MLR-100 is designed for producers who want regular protection from the threat of challenged feedstuffs but who prefer not to use a product with a high clay content. 

<>Focus Areas (taxonomy)
<>Feature
Off
<>Accordion
<>Icons
<>Icon with Multi-Row Text

Alltech® lanza Planet Of Plenty™, la iniciativa para reducir la huella de carbono en las explotaciones agropecuarias

Submitted by mmolano on Tue, 10/05/2021 - 07:57

Planet Of Plenty™ pone al servicio de agricultores y ganaderos las herramientas necesarias para que conozcan la Huella de Carbono que se genera en sus explotaciones, las tecnologías precisas para su reducción y la documentación necesaria para certificar su actividad y su producto.

La Organización de las Naciones Unidas para la Alimentación y Agricultura (FAO), asegura que las emisiones procedentes de la agricultura, la ganadería, la pesca y la silvicultura han aumentado casi el doble en 50 años.

La ONU asegura que, hasta ahora, la huella de carbono no ha parado de crecer y que supone el 60 % del impacto total del hombre en el medio ambiente.

Planet of Plenty™ es una iniciativa con la que la empresa Alltech ayuda a ganaderos y agricultores a reducir la Huella de Carbono de sus explotaciones, consiguiendo incrementar la sostenibilidad medioambiental y económica de sus negocios.

Para ello, aplica una metodología muy sencilla de 4 pasos:

  1. Mide la Huella de Carbono existente en las explotaciones.
  2. Asesora sobre aquellas prácticas que se pueden aplicar para su reducción.
  3. Recomienda las soluciones técnicas más adecuadas a cada proyecto.
  4. Emite los documentos necesarios para la certificación de sostenibilidad conforme a la normativa internacional.

Muchas fuentes agrícolas y ganaderas no son conscientes de los gases de efecto invernadero que liberan a la atmósfera: máquinas de cultivo, fabricación de agroquímicas, uso de fertilizantes, vacas y su metano... Actualmente, el planeta está a un paso de incrementar su temperatura en más de 3 grados, lo que tendría consecuencias terribles para la vida en la Tierra.

Minimizar el impacto ambiental que generan las actividades agrícolas y ganaderas no sólo es necesario y beneficioso para el medio ambiente, sino también para la rentabilidad y cuidado de los procesos, de los animales y de las plantas. Cuando los profesionales del sector reducen la Huella de Carbono, reducen el uso de fertilizantes y otros productos innecesarios, ahorrando costes en materiales.

También ahorran energía gracias a mejorar la eficiencia de las instalaciones, consiguiendo facturas más bajas. Aplicando las medidas necesarias, pueden acceder a los eco-esquemas de la PAC y, con ello, abrirse camino a nuevos mercados y oportunidades de negocio. En definitiva, hablamos de un proceso que no sólo ayuda a potenciar la productividad, sino que cuida de todos los seres del planeta y contribuye a luchar contra el cambio climático.

Una recuperación sostenible podría reducir hasta 25% las emisiones de gases de efecto invernadero previstas para 2030 y limitar el calentamiento global a 2°C. La empresa propone “soñar alto, con los pies en la tierra”, y empezar por los cambios que uno mismo puede hacer. Reducir la Huella de Carbono, es sin duda, un gran paso al alcance de todos.

<>Premium Content
Off
<>Featured Image
Alltech® lanza Planet Of Plenty™, la iniciativa para reducir la huella de carbono en las explotaciones agropecuarias
<>Date
<>Featured Image License
Off
<>Feature
Off
<>Primary Focus Area
<>Article Type

Cebola: maior classificação pode ser alcançada com aplicação de potássio e aminoácidos

Submitted by ebetioli on Mon, 10/04/2021 - 13:32

O tamanho de classe 3 (calibre 50 a 70 mm) é considerado preferência nacional e possui o maior preço de comercialização no mercado

Para estar em destaque na produção nacional e mundial, os produtores brasileiros de cebola precisam estar atentos aos fatores que determinam a qualidade desta hortaliça, que é classificada de acordo com o diâmetro do seu bulbo. O tamanho de classe 3 (calibre 50 a 70 mm) é considerado preferência nacional e possui o maior preço de comercialização no mercado. 

O produtor de cebola de Bonito (BA), Jusemar Santos Freitas, aumentou sua produção da caixa tipo 3 em 35% ao realizar manejo nutricional com potássio e aminoácidos.

“Fizemos o teste, e com os bons resultados, continuamos o uso dos componentes e utilizamos há dois anos. Com os efeitos, conseguimos melhorar nossa produção e qualidade”, relata.

Atualmente, o agricultor cultiva em uma área de 30 hectares e possui uma produtividade média de 85 toneladas/ha.

De acordo com o engenheiro agrônomo Marcos Revoredo, gerente técnico de hortifruti da Alltech Crop Science, o ideal é fazer a aplicação dessas soluções naturais no momento de deitamento da folha. “Além de proteger a cebola de estresses fisiológicos, podemos ainda visualizar plantas com benefícios como uniformidade na maturação e estimular a translocação de carboidratos para o bulbo, desenvolvendo assim, um melhor valor agregado ao produto”, destaca o engenheiro agrônomo.

Segundo Revoredo, o potássio é um dos elementos mais importantes para a fase final do ciclo da cebola. Isso porque ele está diretamente relacionado ao transporte de carboidratos, que quando equilibrados, irão ajudar a manter uma qualidade fotossintética da planta, gerando energia, que durante a maturação será drenada para os bulbos.  

Já os aminoácidos são elementos orgânicos que quando aplicados nesse momento promovem a intensificação de fotoassimilados da folha. “Isso irá impactar diretamente no peso, tamanho e aspectos essenciais para uma melhor classificação, e, consequentemente, uma boa comercialização”, finaliza o profissional. 

Tecnologia indicada

Para obter melhores resultados de classificação no cultivo da cebola e atingir os bons aspectos nutricionais exigidos pelo mercado, Marcos Revoredo indica o uso Bulk. O produto foi desenvolvido pela Alltech Crop Science, sendo formulado à base de potássio e aminoácidos específicos. Desta forma, auxilia na translocação dos carboidratos e na uniformização da maturação de maneira equilibrada.


Sobre a Alltech Crop Science

A Alltech Crop Science, divisão agrícola da Alltech Inc., desenvolve soluções naturais para os desafios da agricultura nos principais mercados do mundo. Por meio de produtos com alto valor agregado e tecnologia exclusiva nas linhas de fertilizantes sólidos, nutrição, solo, proteção e performance, auxiliando na sustentabilidade e lucratividade ao produtor rural. A Alltech Crop Science do Brasil é formada pela maior fábrica de leveduras do mundo, localizada em São Pedro do Ivaí (PR), pela sede em Maringá (PR) e pela unidade em Uberlândia (MG).
 

<>Premium Content
Off
<>Featured Image
Cebola: maior classificação pode ser alcançada com aplicação de potássio e aminoácidos 
<>Date
<>Featured Image License
Off
<>Feature
Off
<>Primary Focus Area
<>Crop Science Focus Areas
<>Article Type
<>Regions
<>Image Caption

Foto: Alltech Crop Science

Loading...