จัดการกับ AMR ในสัตว์ปีกด้วย MRF
การดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) ท้าทายให้เกิดการค้นคว้าและปรับใช้ยาปฏิชีวนะแบบใหม่กับแบคทีเรีย ภัยจากการติดเชื้อดื้อยาที่เพิ่มขึ้นยิ่งขยายความท้าทายนี้ให้ทวีขึ้นไปอีก ซึ่งทําให้การเกษตรต้องลดการมีส่วนที่ทำให้เกิด AMR ให้น้อยลงเท่าที่จะทำได้
บทบาทของสัตว์ปีกใน AMR
ไก่และไข่ ซึ่งมีความอเนกประสงค์และมีโปรตีนสูง เป็นวัตถุดิบหลักในอาหารหลายมื้อ ทําให้สัตว์ปีกเป็นหนึ่งในเนื้อสัตว์ที่มีการบริโภคมากที่สุดทั่วโลก ภายในปี ค.ศ. 2032 การบริโภคสัตว์ปีกทั้งหมดคาดว่าจะสูงถึง 100 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม ไก่ดิบและไข่สามารถเป็นแหล่งกักเก็บเชื้อโรค เช่น Campylobacter, Salmonella และ Clostridium perfringens ซึ่งก่อให้เกิดโรคที่เกิดจากอาหาร แบคทีเรียเหล่านี้สามารถปนเปื้อนผลิตภัณฑ์อาหารในระหว่างการฆ่าและการแปรรูป ทำให้เกิดปัญหาด้านสาธารณสุขที่สําคัญ
แต่เดิม มีการใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อจัดการกับเชื้อโรคเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม การใช้วิธีจัดการนี้แบบไม่ถูกต้องและมากเกินไปได้เร่งการเกิดขึ้นของ AMR ซึ่งแบคทีเรียดื้อยาและยีนที่ทําให้เกิดการดื้อยานั้น สามารถแพร่กระจายจากสัตว์ที่เป็นอาหารไปยังมนุษย์ผ่านมาตามห่วงโซ่อาหาร
AMR เป็นหนึ่งในสิบภัยคุกคามอันดับต้น ๆ ต่อสุขภาพของประชากรโลก ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต 4.95 ล้านคนต่อปี และอาจเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านคนต่อปี ภายในปี 2050 นอกจากนี้ AMR ยังสร้างภาระให้กับระบบการดูแลสุขภาพในทางเศรษฐกิจ องค์กรบริการสุขภาพแห่งชาติของสหราชอาณาจักรต้องเสียค่าใช้จ่าย 180 ล้านปอนด์ต่อปี (229 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และ สำหรับสหรัฐฯ ต้องเสีย 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นเงิน 2 หมื่นล้านดอลลาร์ สําหรับการดูแลสุขภาพ และ 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์ สําหรับการสูญเสียผลผลิต
สร้างความตระหนักรู้และลดการใช้ยาปฏิชีวนะ
ความตระหนักรู้ที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับ AMR ทําให้หลายประเทศห้ามใช้ยาปฏิชีวนะที่ใช้เร่งการเจริญเติบโตในอาหารสัตว์ แม้จะมีการสั่งห้าม แต่อัตราการดื้อยาก็ยังคงสูง ตัวอย่างเช่น รายงานล่าสุดของสหภาพยุโรป (ค.ศ.2021–22) เน้นยํ้าถึงข้อเท็จจริงที่ว่าแบคทีเรียที่พบในไก่ ไก่งวง และแม่ไก่ มีการดื้อต่อยาปฏิชีวนะที่ใช้กันทั่วไปที่เรียกว่า ฟลูออโรควิโนโลน (fluoroquinolone)
แนวทางการต่อสู้กับ AMR ในการผลิตสัตว์ปีก ได้แก่:
• ปรับปรุงการจัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ สุขาภิบาล และการจัดการของเสีย
• ลดการใช้ยาปฏิชีวนะภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์
• การเลิกใช้ยาปฏิชีวนะที่ใช้กระตุ้นการเจริญเติบโต
• โปรแกรมการฉีดวัคซีนที่เข้มงวด การเฝ้าระวังโรค และการควบคุมพาหะ
• โภชนาการที่ดี
• การใช้ผลิตภัณฑ์ทางเลือกแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ และการปรับปรุงสุขภาพลําไส้ของสัตว์
แก้ปัญหาด้วยนวัตกรรมใหม่: Mannan-rich fraction (MRF)
ผลิตภัณฑ์ทางเลือกเพื่อใช้แทนยาปฏิชีวนะมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงสุขภาพลําไส้และไมโครไบโอมของสัตว์ Mannan-rich fraction (MRF) ซึ่งได้มาจากผนังเซลล์ยีสต์ จะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพและสุขภาพของสัตว์ปีกโดย ช่วยปรับเปลี่ยนไมโครไบโอมให้เหมาะสม, จับแบคทีเรียที่ทําให้เกิดโรค และช่วยส่งเสริมสุขภาพลําไส้
การวิจัยล่าสุดยังแสดงให้เห็นว่า MRF มีผลต่อความไวต่อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรีย การศึกษา (Smith et al., 2017; 2020; 2022) แสดงให้เห็นว่า MRF ช่วยลดการเจริญเติบโตของ E. coli ที่ดื้อยาปฏิชีวนะ 46% และลดลง 73% เมื่อใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะ (แอมพิซิลลิน) ผลลัพธ์นี้เกิดขึ้นจากการที่ MRF ไปเพิ่มโปรตีนบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตพลังงาน และทำให้มีการผลิตอนุมูลอิสระของออกซิเจนที่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยา (Reactive Oxygen Species, ROS) ที่เป็นอันตรายในแบคทีเรีย การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้การฆ่าเชื้อแบคทีเรียมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเปลี่ยนแปลงวิธีที่แบคทีเรียตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะ
แนวทางแบบองค์รวมเพื่อความปลอดภัยของอาหาร
เนื่องจากไก่และไข่เป็นวัตถุดิบหลักของอาหารหลายชนิด การรับรองความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกจึงเป็นสิ่งสําคัญอย่างยิ่ง การลดการติดเชื้อที่เกิดจากอาหารจากเชื้อ Salmonella, Campylobacter และ E. coli สามารถลดอัตราการเสียชีวิต บรรเทาภาระทางเศรษฐกิจ และลดการแพร่กระจายของ AMR จากการเกษตรสู่มนุษย์
การนําแนวทางแบบองค์รวมมาใช้เพื่อความปลอดภัยของอาหารในการผลิตสัตว์ปีกเป็นสิ่งสําคัญ โซลูชันที่เป็นนวัตกรรมใหม่เช่น MRF จะช่วยลดความชุกของแบคทีเรียดื้อยา ทําให้ยาปฏิชีวนะมีความจําเป็นน้อยลง และเพิ่มประสิทธิภาพของยาฯ เมื่อจําเป็นต้องใช้ แนวทางนี้จะช่วยให้ภาคการเกษตรลดการมีส่วนร่วมต่อการเกิด AMR ซึ่งจะช่วยปกป้องสุขภาพของประชาชนในท้ายที่สุด
________________________________________
เกี่ยวกับผู้เขียน:
ดร. แฮร์เรียท วอล์คเกอร์ (Dr. Harriet Walker) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ปีกของ Alltech® Technology Group ในบทบาทนี้เธอให้การสนับสนุนด้านเทคนิคแก่พนักงานขาย นอกจากนั้นยังช่วยสนับสนุนและวิเคราะห์ผลจากการวิจัยสัตว์ปีก โดยมุ่งเน้นไปที่การจัดหาโซลูชั่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสัตว์
ก่อนที่จะรับหน้าที่นี้ ดร.แฮร์เรียททํางานในอุตสาหกรรมในฐานะนักโภชนาการสัตว์ปีก ซึ่งมุ่งพัฒนาฐานความรู้ด้านโภชนาการและทางเทคนิค เธอมีประสบการณ์มากมายในด้านโภชนาการและการจัดการสัตว์ปีกหลายประเภท ในฟาร์มหลายขนาด
ดร.แฮร์เรียท สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ที่ Nottingham Trent University ในปี 2013 ในหัวข้อการประเมินสุขภาพลําไส้และประสิทธิภาพของไก่เนื้อเมื่อให้อาหารเสริมเพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะ ก่อนหน้านั้นเธอได้ศึกษาด้านสัตวศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ซึ่งเธอได้ทําวิทยานิพนธ์ด้านโภชนาการสัตว์ปีกในปี 2009
- Read more about จัดการกับ AMR ในสัตว์ปีกด้วย MRF
- Log in to post comments